วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคการจดโน๊ตด้วย cornell note taking



“จดโน้ต” อย่างไรให้เวิร์ค?


เวลานั่งเรียนหรือนั่งฟังสัมมนา แล้วมีกระดาษว่างๆ วางอยู่ หน้ากระดาษแผ่นนั้นก็คือทรัพยากรที่มีจำกัด เคยสงสัยกันไหมว่า จะจดอย่างไรบนหน้ากระดาษแผ่นนั้นให้เกิดการจัดสรรที่เป็นประโยชน์สูงที่สุด แนวทางการจดโน้ตของมหาวิทยาลัย Cornell จะช่วยให้เราแบ่งหน้ากระดาษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
……….

วิธีการจดโน๊ตแบบ Cornell (Cornell Note-taking) เป็นวิธีการบันทึกที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง และมีงานวิจัยจำนวนมากรองรับว่าเป็นวิธีการใช้พื้นที่หน้ากระดาษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Jacobs (2008) ได้นำเสนองานวิจัยที่ยืนยันว่าวิธีการจดโน๊ตแบบ Cornell มีประสิทธิภาพจริง โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้จดเน้นการสังเคราะห์ (Synthesize) และประยุกต์ใช้ความรู้ (Apply Learned Knowledge) แต่ก็อาจไม่ได้ผลดีนักหากผู้จดต้องการท่องจำ
……….
วิธีการจดโน๊ตแบบ Cornell เริ่มจากการแบ่งกระดาษออกเป็น ๓ ส่วน ตามรูปที่ ๑
“รูปที่ ๑ แม่แบบ Cornell Note”

แต่ละส่วนจะถูกใช้ตามหน้าที่ต่อไปนี้
  • ส่วนที่ ๑ เป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุด เรียกว่า Note-taking Area สำหรับจดทุกอย่างเท่าที่จะจดได้ ในช่วงที่นั่งเรียนหรือสัมมนาอยู่
  • ส่วนที่ ๒ เรียกว่า Cue Column สำหรับบันทึกประเด็นสำคัญ เชื่อมโยงจากส่วนที่ ๑ โดยเป็นคำสำคัญ (Keywords) หรือคำถามก็ได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ ๒ ประการ หนึ่งคือง่ายสำหรับการทบทวนโดยไม่ต้องอ่านทั้งหมด และสองเพื่อให้เห็นโครงร่างทั้งหมดของบทเรียนหรือการสัมมนา
  • ส่วนที่ ๓ เรียกว่า Summary Area สำหรับในอนาคตที่เกิดนึกถึงคำถามใหม่ๆ หรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง หรืออาจจะไปเจอความรู้ใหม่ๆ ก็นำมาเขียนที่นี่ รวมทั้งอาจใช้เป็นพื้นที่ในการสรุปเนื้อหาก็ได้ โดยส่วนนี้จะถูกอนุญาตให้เขียนเมื่อเวลาผ่านไปนานกว่า ๒๔ ชั่วโมง หรือ ๗ วันแล้ว
……….
ตัวอย่างของการจดโน้ตแสดงได้ตามรูปที่ ๒ และ ๓
“รูปที่ ๒ ตัวอย่างการจดโน้ตแบบ Cornell Note-taking” (ที่มาของภาพ)

หากนึกไม่ออก ลองนึกถึงเวลาที่เราไปดูภาพยนตร์
ส่วนที่ ๑ ก็คือเนื้อหาภาพยนตร์ที่มีรายละเอียดเยอะมากๆ
ส่วนที่ ๒ คือประเด็นสำคัญๆ ซึ่งเวลาที่เราจะเล่าให้คนอื่นฟังว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มีเรื่องราวเป็นอย่างไร ก็สามารถเล่าได้จากการเรียงลำดับประเด็นสำคัญๆ เหล่านี้
ส่วนที่ ๓ คล้ายๆ กับบทวิจารณ์ภาพยนตร์หรือความคิดเห็นของเราเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ อาจจะเป็นคำถาม ข้อบกพร่อง หรือความรู้สึกก็ได้นั่นเอง
“รูปที่ ๓ ตัวอย่างการจดโน้ตแบบ Cornell Note-taking” (ที่มาของภาพ)

ลองคิดดูครับว่าหลายๆ ครั้ง เราอ่านหนังสือเรียน อย่าว่าแต่จบเล่มเลย เอาแค่จบบทเอง เราแทบจะจำอะไรไม่ได้ ไม่กล้าบอกตัวเองด้วยซ้ำว่าอ่านไปแล้วได้อะไร แต่เวลาที่เราอ่านหนังสือการ์ตูนจบเล่ม เราสามารถเล่าได้เป็นฉากๆ ส่วนหนึ่งก็เพราะหนังสือการ์ตูนมันง่ายกว่า แต่อีกส่วนหนึ่งก็เพราะตอนที่เราอ่านหนังสือเรียน เราลงรายละเอียดมากเกินไป มากเกินกว่าที่เราจะจำมันได้ ขณะที่การอ่านหนังสือการ์ตูนนั้น เราถอยห่างออกมาจากรายละเอียด แล้วทำความเข้าใจโครงร่างของเรื่อง เราจึงรู้เรื่อง
ส่วนที่ ๒ จึงเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดสำหรับการทำความเข้าใจบทเรียนหรือสัมมนาที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะมันจะทำให้เราเล่าต่อได้ผ่านคำสำคัญที่ได้สรุปเอาไว้ เหมือนๆ การอ่านหนังสือการ์ตูนนั่นเอง
……….
ต่อไปนี้เพื่อนๆ ก็จะสามารถใช้ทรัพยากรหน้ากระดาษที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพสูงสุดกันได้แล้วนะครับ
แหล่งข้อมูล http://setthasat.com/2012/03/01/cornell-note-taking/
อย่างไรก็ตาม





แหล่งข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น