วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557
การศึกษาคือปัจจัยที่ 5 แห่งชีวิต ตอนที่ 2
การศึกษาคือปัจจัยที่ 5 แห่งชีวิต ตอนที่ 2
การ ศึกษา คือการสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นมีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะ ประกอบการงานอาชีพได้ การศึกษาช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม การศึกษาจึงเป็นความจำเป็นของชีวิตอีกประการหนึ่ง นอกเหนือจากความจำเป็น ด้านที่อยู่อาศัย อาหารเครื่องนุ่งห่ม และยา
รักษาโรค การศึกษาจึงเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิต เป็นปัจจัยที่จะช่วยแก้ปัญหาทุก ๆ ด้านของชีวิตและเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของชีวิตในโลกที่มีกระแสความ เปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่าง รวดเร็ว และส่งผลกระทบให้วิถีดำรงชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกันการ ศึกษายิ่งมีบทบาทและความจำเป็นมากขึ้นด้วย การศึกษาที่จะช่วยให้ทุกคนมีชีวิตที่ดี มีความสุข จะต้องมีลักษณะ ที่สำคัญดังนี้
1. เป็นการศึกษาที่ให้ความรู้ และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นอย่างเพียงพอ เช่น ความรู้และทักษะทางด้านภาษา การคิดคำนวณ ความเข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น สภาพปัจจุบัน มีความจำเป็นต้องสนับสนุนให้ทุกคนได้รับการศึกษาขั้น พื้นฐานอย่างน้อย 12 ปี จึงจะเพียงพอกับความต้องการและความจำเป็นที่จะยกระดับ คุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
2. การศึกษาทำให้คนเป็นคนฉลาด เป็นคนมีเหตุผล คิดเป็นแก้ปัญหาเป็น และ รู้จักวิธีแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และเพื่อการงานอาชีพ
3. การศึกษาต้องสร้างนิสัยที่ดีงาม ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนโดยเฉพาะนิสัยรักการ เรียนรู้ และนิสัยอื่น ๆ เช่น ความเป็นคนซื่อสัตย์ ขยัน อดทน รับผิดชอบ เป็นต้น
4. การศึกษาต้องสร้างความงอกงามทางร่างกาย มีสุขภาพพลามัยที่ดี รู้จัก รักษาตนให้แข็งแรง ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ และสารพิษ
5. การศึกษาต้องทำให้ผู้เรียนไม่เป็นคนเห็นแก่ตัว เห็นความสำคัญของประโยชน์ส่วนรวมให้ความร่วมมือกับผู้อื่นในสังคม อยู่รวมกับผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยสร้างสังคมที่สงบเป็นสุข รักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน
6. การศึกษาต้องทำให้คนมีทักษะการงานอาชีพที่เพียงพอกับการเข้าสู่การงานอาชีพ รู้จักการประกอบอาชีพและรู้จักพัฒนาการงานอาชีพ
ทั้ง 6 ประการเป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่จำเป็น ที่คนจะต้องได้รับรู้อย่างทั่วถึงทุกคน ถ้าทุกคนได้รับอย่างครบถ้วน เพียงพอก็จะทำให้เกิดทักษะลักษณะและนิสัยที่พึงประสงค์ได้ การศึกษาจึงไม่ใช่สิ่งจำเป็นเพียงสำหรับคนบางคน แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทุกคนโดยเฉพาะผู้ที่ขาดความพร้อมในปัจจัยต่าง ๆ เพื่อการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพ ยิ่งมีความจำเป็นมากที่สุด
คนที่ขาดความพร้อมต้องการการศึกษามาก มักเป็นกลุ่มคนที่ถูกลืมตลอดเวลา การศึกษาที่ได้รับก็มักเป็นบริการที่กระท่อนกระแท่น ไม่เพียงพอกับการเรียนรู้ที่เหมาะสม ไม่พอแม้เพียงเพื่อดำรงชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัย ตรงข้ามกับผู้ที่มีความพร้อมพอจะช่วยตนเองได้ กลับได้รับบริการที่มีคุณภาพและปริมาณที่ดีกว่ามาก ดังจะเห็นได้จากสถานศึกษาในเมืองกับในชนบท ที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในทุก ๆ ด้าน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ การศึกษานอกจาก จะไม่สามารถสร้างความพร้อมที่เพียงพอกับผู้ต้องการแล้ว ยังส่งเสริมให้ช่องว่างระหว่าง คนรวยกับคนจนแตกต่างกันมากขึ้นด้วย
เพื่อให้การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างชาติ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับยุทธศาสตร์การศึกษาเสียใหม่ให้หันมาให้ความ สำคัญกับคนยากจนคนเสียเปรียบ และคนด้อยโอกาสให้มากขึ้นทรัพยากรของรัฐต้องนำมาใช้จ่าย เพื่อปรับปรุงบริการการศึกษา สำหรับคนยากจนให้ดีขึ้นเป็นพิเศษ ให้เพียงพอกับการสร้างลักษณะสิสัยและความพร้อมที่จำเป็น ถ้าคนยากจน คนเสียเปรียบ
คนด้อยโอกาสได้รับการศึกษาที่เหมาะสม และมีคุณภาพ แล้ว ปัญหาต่าง ๆ ในบ้านเมืองก็จะลดน้อยลงไปโดยปริยายและยังทำให้เขากลายเป็นกำลัง สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างดีด้วย
ที่มา : พนม พงษ์ไพบูลย์
http://it.kmutnb.ac.th/thai/readnews.asp?id=501
การศึกษาคือปัจจัยที่ 5 แห่งชีวิต ตอนที่ 1
การศึกษาคือปัจจัยที่ 5 แห่งชีวิต ตอนที่ 1
ประเทศ ไทยมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจค่อนข้างรวดเร็ว ถ้าเปรียบเทียบกับ ประเทศอื่น ๆ ในโลก โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงหลายประเทศประชากรไทย มีรายได้เฉลี่ยสูงถึงปีละ 61,335 บาท* หรือเดือนละประมาณ 5,100 บาท เป็นรายได้ ที่มากที่พอจะดำรงชีวิตได้อย่างมี
ความสุขพอสมควร แต่นี่เป็นเพียงค่าเฉลี่ยรวมระดับ ประเทศ ถ้าพิจารณาให้ลึกลงไปก็พบว่ามีอยู่ถึง 63 จังหวัด ที่ประชากรมีรายได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลางนี้ และยังพบอีกว่ามีความแตกต่างระหว่างจังหวัดสูงมาก จังหวัดที่มีรายได้ สูงสุดคือสมุทรสาคร มีรายได้เฉลี่ยถึง 248,216 บาทต่อปี ส่วนจังหวัดศรีสะเกษมีรายได้ เฉลี่ยต่ำสุดเพียง 14,960 บาทต่อปี ความแตกต่างนี้สูงถึง 16.6 เท่า
เศรษฐกิจของประเทศไทยที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นรวดเร็วนี้ เป็นผลเนื่องจากการขยายตัวภาคอุตสาหกรรมและบริการ ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมขยายตัวน้อยมาก รายได้ที่สูงขึ้นจึงเป็นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและบริการ และผู้บริหารระดับสูงเสียเป็น ส่วนใหญ่ และเป็นการขยายตัว
ของเศรษฐกิจในเขตเมืองส่วนในชนบทนั้นไม่มีความเปลี่ยนแปลงมากนัก คนชนบทยังยากจน ต้องอาศัยการเกษตรที่มีผลตอบแทนน้อยเป็นพื้นฐานดำรงชีวิตส่วนที่อยากมีชีวิต ที่ดีขึ้นก็มุ่งเข้าเมือง หาอาชีพใหม่ที่ดีกว่า ซึ่งบางคนก็ ประสบความสำเร็จบางคนก็ไม่ประสบความสำเร็จ บางคนก็ล้มเหลว นำความเศร้าโศก เสียใจมาสู่ญาติพี่น้อง
ความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ มิได้หมายความถึงความเจริญรุ่งเรืองทาง เศรษฐกิจเท่านั้นและความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจก็มิได้ดูเพียงค่าเฉลี่ยของ รายได้ประชากร เท่านั้น ความสงบของสังคมเป็นดรรชนีบ่งบอกความเจริญของประเทศเช่นเดียวกัน ประเทศจะสงบสุขร่มเย็นได้ ชีวิต
คนในชาติต้องไม่มีความเหลื่อมล้ำกันมาก คนรวยจะรวยล้นฟ้าเพียงใดคงไม่มีปัญหามากนัก แต่ถ้าคนจน มีมากและมีช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนมาก ประเทศนั้นย่อมมีปัญหา และถ้าคนจนมีความเป็นอยู่ที่แร้นแค้น ขาดแคลนทุกอย่างในขณะที่คนรวยมีความสมบูรณ์เพียบพร้อมทุกอย่างปัญหาย่อมเกิด ขึ้นแน่นอน
ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องรีบหาทางแก้ไขปัญหา คือลดช่องว่างระหว่าง คนรวยกับคนจนนี้ให้ได้โดยเร็ว วิธีการง่ายๆก็คือหาทางขจัดความยากจนให้หมดไป ช่วย ให้คนยากไร้มีฐานะ ความเป็นอยู่ มีรายได้ที่สูงขึ้น มีปัจจัยพื้นฐานเพื่อการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปัจจัยพื้นฐานเพื่อการดำรงชีวิตมี 4 ประการ คือ การมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม 1 การมีอาหารการกินที่เพียงพอกับความเจริญเติบโตและเพื่อสุขภาพอนามัยที่ดี 1 การมีเครื่องนุ่งห่มที่เหมาะสมกับสภาวะอากาศและความมีระเบียบทางวัฒนธรรม 1 และการมียาป้องกันรักษาโรคภัยไข้เจ็บยามจำเป็นอีก 1 มนุษย์ที่มีวัฒนธรรมมีความจำเป็นต้องมีปัจจัย พื้นฐาน 4 ประการนี้ แต่เราพบว่า ยังมีคนไทยนับล้านที่ขาดที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพพอควรคนจำนวนมากต้องแออัดใน แหล่งเสื่อมโทรม มีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม หลายคนต้อง อาศัยใต้สะพานเป็นที่อยู่อาศัย บางคนเป็นคนเร่ร่อนไร้หลักแหล่ง เด็กนับล้านเป็นโรคขาดสารอาหาร ขาดภูมิคุ้มกันป้องกันโรค ขาดเสื้อผ้านุ่งห่มที่เหมาะสม
คนไทยภาคภูมิใจว่าประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลาในนามีข้าวคนไทยไม่อดตาย แต่มีคนไทยกว่าครึ่งประเทศยังอยู่ในฐานะยากจน มีคุณภาพชีวิตไม่เหมาะสม แม้ปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้น ก็ยังมีไม่เพียงพอ ประเทศไทยจะเจริญได้ คนไทยทั้งมวลต้องมี ส่วนร่วม โดยต้องช่วยกันยกระดับคุณภาพชีวิตและแก้ปัญหาความยากจนให้ได้
การช่วยคนหิวด้วยการให้อาหาร ไม่ช้าเขาก็กินอาหารนั้นหมดแล้วก็หิวต่อไป การแก้ความหิว จึงต้องแก้ด้วยการให้เครื่องมือหาอาหาร ไม่ใช่ให้อาหารความยากจนเป็นต้นเหตุของความไม่เหมาะสมเพียงพอของปัจจัย พื้นฐาน การแก้ปัญหาความยากจนของคน กว่าครึ่งประเทศจึงไม่ใช่การแจกเงินทองสิ่งของเครื่องใช้ แต่ต้องแก้ด้วยการให้ความรู้ ความสามารถที่จะไปประกอบงานเพื่อให้มีรายได้เพียงพอ
กับการดำรงชีวิตที่เหมาะสม
ที่มา : พนม พงษ์ไพบูลย์
http://it.kmutnb.ac.th/thai/readnews.asp?id=500
วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557
วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557
วิธีป้องกันโรคไข้เลือดออก: ไข้เลือดออก
วิธีป้องกันโรคไข้เลือดออก: ไข้เลือดออก: ไข้เลือดออก เป็นการติดเชื้อไวรัส มีเชื้ออยู่สองชนิดใหญ่ๆที่ทำให้เกิดไข้เลือดออก คือเชื้อ เดงกี่ (dengue) และชิกุนกุนย่า(chigunkunya) มาก...
เคล็ดลับ 13 ประการ เพื่อ การเรียน อย่างมี ประสิทธิภาพ
เคล็ดลับ 13 ประการ เพื่อ การเรียน อย่างมี
ประสิทธิภาพ
1. รับผิดชอบ
- รับผิดชอบตนเอง ไม่ยืมจมูกคนอื่นหายใจ เป็นผู้ชนะจากความสามารถของตน
2. เริ่มต้นดี - ช่วงเดือนแรกในรั้วมหาวิทยาลัย ถือเป็นช่วงวิกฤตของน้องใหม่ หากเริ่มต้นดี ความสำเร็วจะไม่อยู่ไกลเกินเอื้อม
3. กำหนดเป้าหมายในการเรียนอย่างแน่วแน่ - กำหนดเป้าหมายในการเรียนให้ชัดเจน ทั้งระยะสั้นและระยะยาว และทุ่มเทความพยายามให้บรรลุเป้าหมายนั้น
4. วางแผน และจัดการ
- มีการวางแผน จัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมที่ต้องทำ หากทำตารางเวลาเป็นรายสัปดาห์ได้ยิ่งดี
5. มีวินัยต่อตนเอง - เมื่อกำหนดเป้าหมาย วางแผน และจัดการ ตามข้อ 4 และ 5 แล้วต้องสัญญากับตนเองอย่างแน่วแน่ที่จะมีวินัย และปฏิบัติตาม
6. อย่าล้าสมัย
- วิทยาการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การค้นคว้าหาความรู้ ต้องอิงกับข้อมูลที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์
7. ฝึกฝนตนเองให้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ศึกษาข้อเสนอแนะในคู่มือเล่มนี้ และฝึกทักษะการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ติดตัวตลอดไป
8. เตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่ชั้นเรียน
- เตรียมตัวเป็นผู้ใฝ่หาความรู้อย่างแข็งขัน หากเป็นไปได้เตรียมอ่านเอกสารที่จะเรียนมาก่อนเข้าห้องเรียน
9. มุ่งมั้น จดจ่อต่อบทเรียน
- มีสมาธิ สนใจ ตั้งใจ เวลาอาจารย์สอน ไม่เข้าเรียนเพื่อพูดคุยกัน ซังกะตาม รอเวลาเลิกชั้น
10. เป็นตัวของตัวเอง
- รู้จักคิดและทำ ด้วยความสามารถของตนเองคิดเสมอว่าเราเป็นผู้หนึ่งที่มีศักยภาพสูง
11. มีความกระตือรือล้น
- ความสำเร็จเป็นของผู้ที่มีความริเริ่ม เป็นฝ่ายรุกที่จะมุ่งหน้า และคว้าความสำเร็จเป็นของตน
12. มีสุขภาพดี
- อย่าลืมใส่ใจต่อสุขภาพร่างกาย กิจกรรมนันทนาการ และกิจกรรมสังคม วางแผนจัดเวลาต่อสิ่งเหล่านี้ให้พอเหมาะ
13. เรียนอย่างมีความสุข
- พยายามเก็บเกี่ยวความน่าสนใจในบทเรียน คิดเสมอว่าทุกวิชาน่าเรียนรู้ น่าสนุกทั้งนั้น แล้วท่านจะพบว่า เราก็เรียนอย่างมีความสุขได้
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.dek-d.com
วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557
ประวัติ LINE
ประวัติ LINE
เคยสงสัยกันบ้างมั้ยคะว่าแอพพลิเคชั่น LINE ที่เราใช้แชทกับเพื่อนในโทรศัพท์มือถือ (หรือในคอมพิวเตอร์) นั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างไร
LINE Application นั้นเป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขี้นในช่วงกลางปี 2010 โดยการร่วมมือของบริษัท Naver Japan Corporation และบริษัท livedoor โดยมี NHN Japan เป็นผู้พัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ ของไลน์ และในส่วนของการตลาดด้านธุรกิจนั้นยกให้บริษัทแม่ที่เกาหลี NHN Corporation จัดการ หลังจากที่เปิดตัวได้เพียงไม่นาน ก็ได้รับการตอบรับถึงหลายสิบล้านยูสเซอร์ในญี่ปุ่น ประเด็นแรกที่ใช้ในการสร้างโปรแกรมแชท LINE ขึ้นมาก็มีสาเหตุมาจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ภูมิภาค Tohoku เมื่อต้นปี 2011 นั่นเอง ในตอนนั้นระบบการติดต่อทางการโทรศัพท์ล่มอย่างไม่เป็นท่า ทำให้ NHN Japan ตัดสินใจออกแบบ App ที่สามารถใช้ได้ทั้งบนมือถือ บนแท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์พีซี ซึ่งจะทำงานบนเครือข่ายข้อมูลที่สามารถแชทตอบโต้ได้รวดเร็วและต่อเนื่อง
ด้วยความที่ไลน์มีคุณสมบัติของโปรแกรมแชทครบถ้วน ตั้งแต่ แชท ส่งไฟล์รูป ไฟล์วิดีโอ ไฟล์เสียง ระบบการค้นหาเพื่อนด้วย QR Code หรือจะเกมไว้คลายเครียด ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นจุดเด่นของแอพพลิเคชั่นนี้ก็ว่าได้ค่ะ นั่นก็คือ “Sticker” นั่นเอง และในตอนนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง “สติกเกอร์” กันนะคะ โดยจะขอแนะนำตัวการ์ตูนหลักๆ ของสติกเกอร์ในไลน์ที่เป็นมาสค็อตที่เห็นกันบ่อยๆ และคิดว่าทุกคนต้องเคยใช้มาแล้วมาเริ่มจาก
Moon เป็นสติกเกอร์หัวกลม ตัวสีขาว เป็นสติกเกอร์พื้นฐานของผู้เล่นไลน์กันเลยทีเดียว เพราะมีแทบจะทุกอารมณ์ที่ผู้เล่นต้องการ สติกเกอร์ตัวนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าผู้เล่นไลน์ต้องใช้กันอย่างน้อยคนละ 2 ครั้งแน่ๆ
Cony เป็นสติกเกอร์กระต่ายสีขาว หูด้านในสีชมพู ด้วยความที่เป็นกระต่ายและแสดงอีโมชั่นผ่านท่าทางและใบหน้าออกมาได้น่ารัก หลายๆ คนจึงชอบใช้สติกเกอร์โคนี่กัน โคนี้มักจะมาพร้อมกับบราวน์
Brown เป็นหมีสีน้ำตาล หน้านิ่งแต่แสดงอารมณ์ออกมาทางการกระทำได้น่ารักมากๆ ค่ะ แต่ก็มีกลุ่มคนไม่น้อยที่ชื่นชอบความแบ๊วซื่อๆ ของเจ้าสติกเกอร์ตัวนี้ และบราวน์มักจะมีสติกเกอร์คู่กับโคนี่
James เป็นสติกเกอร์หนุ่มเจ้าสำอาง มีจุดเด่นคือเป็นคนจริงๆ และผมสีทอง มาในชุดเสื้อขาว กางเกงดำ ชอบทำหน้าแบบหลงตัวเอง เจมส์เป็นอีกหนึ่งสติกเกอร์ที่เป็นที่นิยมมากเพราะ “ความฮา” ของเค้านี่แหละค่ะ ไม่ว่าจะทำหน้าหล่อ หรือแม้แต่ท่านอนตายแบบสิ้นหวัง เจมส์มีหมด
และ Sally เป็ดเหลืองตัวจิ๋วมักจะมาแจมกับคาแร็กเตอร์ตัวอื่นๆ อยู่เสมอ
นอกจากนี้ คาแรคเตอร์หลักของไลน์ยังถูกนำไปเป็นอนิเมชั่นในชื่อ Line Offline Salaryman Stamp
อนิเมไลน์นี้เริ่มฉายเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2013 ทางโตเกียวทีวี ใน 1 ตอนจะมีความยาวเพียงแค่ 4 นาทีเท่านั้น ช่วงเวลาการฉายอยู่ที่ 01.30 – 01.35 น. ตามเวลาญี่ปุ่นนะคะ คาแร็คเตอร์ไลน์แต่ละตัวจะถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นพนักงานเงินเดือน ปัจจุบันมีหลายตอนแล้ว
ล่าสุดนี้ ทาง NAVER ได้มีการฉลองให้กับผู้ใช้งานไลน์เกิน 100 ล้านคน ด้วยการแจกสติกเกอร์ 7 วัน 7 แบบให้ไปสะสมกับฟรีๆ โดยไม่เสียเงินค่ะ โดยวิธีการโหลดคือ 1 วันต่อ 1 คาแร็คเตอร์ ตั้งแต่วันที่ 18-24 มกราคม 2556 ลายของสติกเกอร์ที่แจกมีดังนี้ค่ะ
Moon Special Edition / Cony Special Edition / Brown Special Edition / Don’t Lose Your Soul / Hurricane Project / Jungle High / Listen to Your Heart
1. จำนวนผู้ใช้
– ญี่ปุ่น: 41.51 ล้าน, ไทย: 12.27 ล้าน, ไต้หวัน: 11.83 ล้าน, ประเทศอื่นๆ: 34.39 ล้าน
– สัดส่วนระหว่างญี่ปุ่น ต่อ ประเทศอื่นๆ = 4:62. ท๊อป 5 ประเทศ (จากจำนวนผู้ใช้มากสุด)
– ญี่ปุ่น ไทย ไต้หวัน เกาหลี สเปน
– ญี่ปุ่น: 41.51 ล้าน, ไทย: 12.27 ล้าน, ไต้หวัน: 11.83 ล้าน, ประเทศอื่นๆ: 34.39 ล้าน
– สัดส่วนระหว่างญี่ปุ่น ต่อ ประเทศอื่นๆ = 4:62. ท๊อป 5 ประเทศ (จากจำนวนผู้ใช้มากสุด)
– ญี่ปุ่น ไทย ไต้หวัน เกาหลี สเปน
[adsense]3. ประเทศและภูมิภาคที่ LINE ได้รับการจัดอันดับให้เป็นแอพฯ อันดับ 1 โดย App Store/Google Play (ในประเภทแอพฯ ฟรี)
– เอเชีย
– ญี่ปุ่น ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย กัมพูชา ลาว คีร์กิซสถาน ตุรกี บาร์เรน อุซเบกิสถาน คาซัคสถาน จอร์แดน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คูเวต อิสราเอล การต้าร์ ซาอุดิ อาเรเบีย โอมาน
– ยุโรป
– รัสเซีย เบลารูส สเปน สวิสเซอร์แลนด์
– อเมริกาเหนือ
– โดมินิแคน รีพับลิค เอล ซาวาดอร์ ปานามา ฮอนดูรัส
– อเมริกาใต้
– เอควาดอร์ เวเนซูเอล่า อาร์เจนติน่า เปรู ชิลี โบลิเวีย ปารากวัย อุรุกวัย
– แอฟริกา
– มาลิ แองโกล่า
– โอเชียน่า
– ปาปัวนิวกินี
– เอเชีย
– ญี่ปุ่น ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย กัมพูชา ลาว คีร์กิซสถาน ตุรกี บาร์เรน อุซเบกิสถาน คาซัคสถาน จอร์แดน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คูเวต อิสราเอล การต้าร์ ซาอุดิ อาเรเบีย โอมาน
– ยุโรป
– รัสเซีย เบลารูส สเปน สวิสเซอร์แลนด์
– อเมริกาเหนือ
– โดมินิแคน รีพับลิค เอล ซาวาดอร์ ปานามา ฮอนดูรัส
– อเมริกาใต้
– เอควาดอร์ เวเนซูเอล่า อาร์เจนติน่า เปรู ชิลี โบลิเวีย ปารากวัย อุรุกวัย
– แอฟริกา
– มาลิ แองโกล่า
– โอเชียน่า
– ปาปัวนิวกินี
4. ความถี่ในการใช้งาน
– 80.3% ต่อเดือน (นับถึงเดือนธันวาคม 2555)
– 80.3% ต่อเดือน (นับถึงเดือนธันวาคม 2555)
5. จำนวนผู้ลงทะเบียนใช้งานสูงสุดต่อวัน
– 600,000 คน (นับถึงวันที่ 16 ธันวาคม 2555)
– 600,000 คน (นับถึงวันที่ 16 ธันวาคม 2555)
6. รางวัลที่ได้รับ
– รางวัล iTunes ยอดเยี่ยมประจำปี 2555 : อันดับ 1 ประเภทฟรีแอพลิเคชั่น (ประเทศญี่ปุ่น)
– รางวัล iF ดีไซน์ ปี 2556 : รางวัลสื่อโฆษณา
– รางวัลดีไซน์ดีเยี่ยมเหรียญทอง ปี 2555
– รางวัลเทรนด์ Shogakukan Dime ปี 2555
– รางวัลทีมงานยอดเยี่ยม ปี 2555
– รางวัล AMD Digital Contents ครั้งที่ 17 ประจำปี 2556
– รางวัล Nikkei Sangyo Shimbun: Nikkei Superior Products Service ปี 2555
– รางวัล Nikkei MJ Hit Products ปี 2555
– รางวัล Nikkei Trendy: Hit Products ปี 2555 : อันดับ 2 จาก 30 ลำดับ
– รางวัล Top Worldwide in Non-Game Apps by Monthly Revenues for iOS/Google Play (พฤศจิกายน 2555)
– รางวัล elEconomista: Nominated for Best Technology (ประเทศสเปน)
– รางวัล EL PAIS: Nominated for Best Trend (ประเทศสเปน)
– รางวัล iTunes ยอดเยี่ยมประจำปี 2555 : อันดับ 1 ประเภทฟรีแอพลิเคชั่น (ประเทศญี่ปุ่น)
– รางวัล iF ดีไซน์ ปี 2556 : รางวัลสื่อโฆษณา
– รางวัลดีไซน์ดีเยี่ยมเหรียญทอง ปี 2555
– รางวัลเทรนด์ Shogakukan Dime ปี 2555
– รางวัลทีมงานยอดเยี่ยม ปี 2555
– รางวัล AMD Digital Contents ครั้งที่ 17 ประจำปี 2556
– รางวัล Nikkei Sangyo Shimbun: Nikkei Superior Products Service ปี 2555
– รางวัล Nikkei MJ Hit Products ปี 2555
– รางวัล Nikkei Trendy: Hit Products ปี 2555 : อันดับ 2 จาก 30 ลำดับ
– รางวัล Top Worldwide in Non-Game Apps by Monthly Revenues for iOS/Google Play (พฤศจิกายน 2555)
– รางวัล elEconomista: Nominated for Best Technology (ประเทศสเปน)
– รางวัล EL PAIS: Nominated for Best Trend (ประเทศสเปน)
7. ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับแอพฯของ LINE
– มีจำนวนทั้งหมด 24 แอพฯ (ไม่รวมแอพฯบนเว็บไซต์)
– จำนวนยอดดาวน์โหลดสูงถึง 100 ล้าน
– มีจำนวนทั้งหมด 24 แอพฯ (ไม่รวมแอพฯบนเว็บไซต์)
– จำนวนยอดดาวน์โหลดสูงถึง 100 ล้าน
8. อันดับความนิยมของสติ๊กเกอร์ทั่วโลก
ประวัติความสำเร็จของ LINE
อ้างอิง
ขอบคุณ ข้อมูลจาก http://sirinipha1.wordpress.com/
วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557
วันสารทจีน
ตำนาน
ตำนานที่ 1
ตำนานนี้กล่าวไว้ว่าวันสารทจีนเป็นวันที่เงี่ยมล้อเทียนจือ (ยมบาล) จะตรวจดูบัญชีวิญญาณคนตาย ส่งวิญญาณดีขึ้นสวรรค์และส่งวิญญาณร้ายลงนรก ชาวจีนทั้งหลายรู้สึกสงสารวิญญาณร้ายจึงทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ ดังนั้นเพื่อให้วิญญาณร้ายออกมารับกุศลผลบุญนี้จึงต้องมีการเปิดประตูนรกนั่นเอง
ตำนานที่ 2
มีชายหนุ่มผู้หนึ่งมีนามว่า “มู่เหลียน” (พระมหาโมคคัลลานะ) เป็นคนเคร่งครัดในพุทธศาสนามาก ผิดกับมารดาที่เป็นคนใจบาปหยาบช้าไม่เคยเชื่อเรื่องนรก-สวรรค์มีจริง ปีหนึ่งในช่วงเทศกาลกินเจนางเกิดความหมั่นไส้คนที่นุ่งขาวห่มขาวถือศีลกินเจ นางจึงให้มู่เหลียนไปเชิญผู้ถือศีลกินเจเหล่านั้นมากินอาหารที่บ้านโดยนางจะทำอาหารเลี้ยงหนึ่งมื้อ
ผู้ถือศีลกินเจต่างพลอยยินดีที่ทราบข่าวว่ามารดาของมู่เหลียนเกิดศรัทธาในบุญกุศลครั้งนี้ จึงพากันมากินอาหารที่บ้านของมู่เหลียนแต่หาทราบไม่ว่าในน้ำแกงเจนั้นมีน้ำมันหมูเจือปนอยู่ด้วย การกระทำของมารดามู่เหลียนนั้นถือว่าเป็นกรรมหนัก เมื่อตายไปจึงตกนรกอเวจีมหานรกขุมที่ 8 เป็นนรกขุมลึกที่สุดได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส
เมื่อมู่เหลียนคิดถึงมารดาก็ได้ถอดกายทิพย์ลงไปในนรกภูมิ จึงได้รู้ว่ามารดาของตนกำลังอดอยากจึงป้อนอาหารแก่มารดา แต่ได้ถูกบรรดาภูตผีที่อดอยากรุมแย่งไปกินหมดและเม็ดข้าวสุกที่ป้อนนั้นกลับเป็นไฟเผาไหม้ริมฝีปากของมารดาจนพอง แต่ด้วยความกตัญญูและสงสารมารดาที่ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างสาหัสมู่เหลียนได้เข้าไปขอพญาเหงี่ยมล่ออ๊อง (ยมบาล) ว่าตนของรับโทษแทนมารดา
แต่ก่อนที่มู่เหลียนจะถูกลงโทษด้วยการนำร่างลงไปต้มในกระทะทองแดง พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงมาโปรดไว้ได้ทัน โดยกล่าวว่ากรรมใดใครก่อก็ย่อมจะเป็นกรรมของผู้นั้นและพระพุทธเจ้าได้มอบคัมภีร์อิ๋ว หลันเผิน ให้มู่เหลียนท่องเพื่อเรียกเซียนทุกทิศทุกทางมาช่วยผู้มีพระคุณให้หลุดพ้นจากการอดอยากและทุกข์ทรมานต่าง ๆ ได้ โดยที่มู่เหลียนจะต้องสวดคัมภีร์อิ๋ว หลันเผินและถวายอาหารทุกปีในเดือนที่ประตูนรกเปิดจึงจะสามารถช่วยมารดาของเขาให้พ้นโทษได้
นับแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวจีนจึงได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อมากันโดยตลอดด้วยการเซ่นไหว้ โดยจะนำอาหารทั้งคาวหวาน และกระดาษเงินกระดาษทองไปวางไว้ที่หน้าบ้านหรือตามทางแยกที่ไม่ไกลนัก มีนัยว่าเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของบรรดาวิญญาณเร่ร่อนที่กำลังจะผ่านมาใกล้ที่พักของตน
จำนวนชุดที่ไหว้
การไหว้ในเทศกาลสารทจีนแบ่งออกเป็น 3 ชุด ดังนี้
1. ชุดสำหรับไหว้เจ้าที่
จะไหว้ในตอนเช้า มีอาหารคาวหวาน ขนมที่ไหว้ก็ขนมถ้วยฟู กุยช่าย ส่วนขนมไหว้พิเศษที่ต้องมีซึ่งเป็นประเพณีของสารทจีนคือขนมเทียน ขนมเข่ง ซึ่งต้องแต้มจุดสีแดงไว้ตรงกลาง เนื่องจากชาวจีนมีความเชื่อที่ว่าสีแดงเป็นสีแห่งความเป็นศิริมงคล นอกจากนั้นก็มีผลไม้ น้ำชา หรือเหล้าจีน และกระดาษเงินกระดาษทอง
2. ชุดสำหรับไหว้บรรพบุรุษ
คล้ายของไหว้เจ้าที่พร้อมด้วยกับข้าวที่บรรพบุรุษชอบ ตามธรรมเนียมต้องมีน้ำแกงหรือขนมน้ำใส ๆ วางข้างชามข้าวสวย และน้ำชาจัดชุดตามจำนวนของบรรพบุรุษ ขาดไม่ได้ก็คือขนมเทียน ขนมเข่ง ผลไม้และกระดาษเงินกระดาษทอง
3. ชุดสำหรับไหว้สัมภเวสี
วิญญาณเร่ร่อนหรือวิญญาณไม่มีญาติ เรียกว่า สัมภเวสี หรือ ไป๊ฮ๊อเฮียตี๋ แปลว่า ไหว้พี่น้องที่ดี เป็นการสะท้อนความสุภาพและให้เกียรติของคนจีน เรียกผีไม่มีญาติว่าพี่น้องที่ดีของเรา โดยการไหว้จะไหว้นอกบ้านของไหว้จะมีทั้งของคาวหวานและผลไม้ตามต้องการและที่พิเศษคือมีข้าวหอมแบบจีนโบราณ คอปึ่ง เผือกนึ่งผ่าซีกเป็นเสี้ยวใส่ถาด เส้นหมี่ห่อใหญ่ เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทองจัดทุกอย่างวางอยู่ด้วยกันสำหรับเซ่นไหว้
ขนมที่ใช้ไหว้[แก้]
ในสมัยโบราณชาวจีนใช้ขนมไหว้ 5 อย่าง เรียกว่า โหงวเปี้ย หรือเรียกชื่อเป็นชุดว่า ปัง เปี้ย หมี่ มั่ว กี
- ปัง คือขนมทึงปัง เป็นขนมที่ทำมาจากน้ำตาล
- เปี้ย คือขนมหนึงเปี้ย คล้ายขนมไข่
- หมี่ คือขนมหมี่เท้า ทำมาจากแป้งข้าวเจ้าข้างในไส้เต้าซา
- มั่ว คือขนมทึกกี่ เป็นขนมข้าวพองสีแดงตรงกลางมีไส้เป็นแผ่นบาง
- กี คือขนมทึงกี ทำเป็นชิ้นใหญ่ยาวเวลาจะกินต้องตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ
แต่ชาวไทยเชื้อสายจีนใช้ขนมเทียน ขนมเข่งในการไหว้ โดยหลักของที่ไหว้ก็จะมีของคาว 3 หรือ 5 อย่าง เช่น ไก่ หมู เป็ด ไข่ หมึก ปลา เป็นต้น ของหวาน 3 หรือ 5 อย่าง เช่น ขนมเทียน ขนมมัดไต้ ขนมถ้วยฟู หรือขนมสาลี่ปุยฝ้าย ขนมเปี๊ยะ ส้ม หรือผลไม้ตามใจชอบ
แง่คิด
ประเพณีสารทจีนนอกจากจะเป็นประเพณีที่ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษซึ่งล่วงลับไปแล้ว ยังเป็นประเพณีที่มีกุศโลบายในการสนับสนุนให้ทุกคนในครอบครัวทำกิจกรรมร่วมกันอย่างพร้อมหน้าและมีความสุข
ดูเพิ่ม
อ้างอิง วิกิพีเดีย
ประวัติวันสงกรานต์
สงกรานต์ (อังกฤษ: Water Festival ถอดเป็นอักษรละติน: Songkran; เขมร: សង្រ្កាន្ត; พม่า: သင်္ကြန်; ลาว: ສົງການ; จีน: 泼水节) เป็นประเพณีของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย[1] สันนิษฐานว่า สงกรานต์ได้รับอิทธิพลมาจากเทศกาลโฮลี (होली) ในอินเดีย แต่เทศกาลโฮลีจะใช้การสาดสีแทน เริ่มในทุกวันแรม 1 ค่ำเดือน 4 คือ ในเดือนมีนาคม[2]
สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึง "การเคลื่อนย้าย" ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี คือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สงกรานต์สืบทอดมาแต่โบราณคู่กับตรุษ จึงเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึง ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เดิมวันที่จัดเทศกาลกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า 13 ถึง 15 เมษายน วันขึ้นปีใหม่ไทยเป็นวันเริ่มปีปฏิทินของไทยจนถึง พ.ศ. 2431 จากนั้นวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึง พ.ศ. 2483[3]
พิธีสงกรานต์เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติและความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ สังคมไทยสมัยใหม่เกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีการประชาสัมพันธ์ในเชิงท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ สงครามน้ำ[4] ซึ่งตัดส่วนที่เป็นความเชื่อดั้งเดิมไป
เนื้อหา
[ซ่อน]การคำนวณ[แก้]
ปัจจุบันปฏิทินไทยกำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ อย่างไรก็ตาม ประกาศสงกรานต์อย่างเป็นทางการจะคำนวณตามหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ ซึ่งแต่โบราณมา กำหนดให้วันแรกของเทศกาลเป็นวันที่พระอาทิตย์ย้ายออกจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" วันถัดมาเรียกว่า "วันเนา" (ภาษาเขมร แปลว่า "อยู่ ") และวันสุดท้าย เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า "วันเถลิงศก"
การคำนวณวันเถลิงศกนั้น ตามคัมภีร์สุริยยาตร์[5] จะต้องมีการหาหรคุณเถลิงศก และค่าอื่น ๆ สำหรับคำนวณตำแหน่งดาวในปีนั้น ๆ เรียกว่าอัตตาเถลิงศก ทุก ๆ ปี ค่าหรคุณเถลิงศกที่คำนวณได้จะเป็นตัวเลขนับ 1 ที่วันเถลิงศก จ.ศ. 0 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 1181 ตามปฏิทินเกรกอเรียน มาจนถึงปีที่ต้องการ สำหรับกระบวนการหาหรคุณเถลิงศก มีดังต่อไปนี้
- ตั้งเกณฑ์ 292207 ลง เอาจุลศักราชปีนั้นคูณ ได้เท่าใด เอา 373 บวก แล้วเอา 800 หาร ลัพธ์ (ส่วนที่เป็นคำตอบจำนวนเต็ม) เอา 1 บวก เป็นหรคุณเถลิงศก
- เอา 800 ตั้ง เอาเศษจากข้อก่อนมาลบ ได้ กัมมัชพลเถลิงศก
จากขั้นตอนข้างต้น อธิบายได้ว่า ในหนึ่งปีสุริยคติมีเวลาทั้งหมดคิดเป็น 292207 กัมมัช (กัมมัชคือหน่วยย่อยของเวลาในคัมภีร์สุริยยาตร์ โดยที่ 1 กัมมัช = 108 วินาที และ 800 กัมมัช = 1 วัน) ดังนั้นเวลาเป็นกัมมัชนับจากจุดเถลิงศก จ.ศ. 0 มาหาจุดเถลิงศกปีที่ต้องการ ก็หาได้โดยเอา 292207 คูณกับจุลศักราชที่ต้องการทราบ แต่เนื่องจากวันเถลิงศก จ.ศ. 0 เวลาเถลิงศกตรงกับ 11:11:24 นาฬิกา หรือคิดเป็น 373 กัมมัช นับแต่เวลา 0 นาฬิกา จึงเอา 373 บวกเข้ากับผลคูณที่หาไว้แล้ว ผลทั้งหมดที่ได้นี้มีหน่วยเป็นกัมมัช เมื่อจะแปลงเป็นวัน ก็เอา 800 หาร
จากผลที่ได้ ถ้าหารแบบสมัยใหม่โดยติดทศนิยม จะได้ว่าส่วนที่เป็นจำนวนเต็ม นับ 0 ที่วันแรกของ จ.ศ. 0 ส่วนที่เป็นทศนิยม เป็นเศษส่วนของวันนับจาก 0 นาฬิกาของวันเถลิงศกไปหาเวลาเถลิงศก แต่ในสมัยโบราณการคำนวณด้วยทศนิยมเป็นการยากลำบาก ดังนั้น ถ้าหารแบบติดเศษ แล้วเอาส่วนที่เป็นจำนวนเต็มบวก 1 ก็จะได้หรคุณเถลิงศก ส่วนที่เป็นเศษนั้นบอกถึงเวลานับแต่ 0 นาฬิกาไปหาเวลาเถลิงศกในหน่วยกัมมัช หากเอาไปหักลบออกจาก 800 ก็จะได้กัมมัชพลเถลิงศก หรือเวลาเป็นกัมมัชที่เหลือจนสิ้นวันเถลิงศก
เนื่องจากวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 1181 เวลา 00:00 น. มีหรคุณจูเลียนเป็น 1954167.5 เพื่อความง่ายจึงสามารถหาหรคุณจูเลียน (Julian day number) ของวันเถลิงศกได้ตามสูตร
JD วันเถลิงศก = [(292207* (พ.ศ.-1181) + 373)/800] + 1954167.5
สำหรับวันมหาสงกรานต์ สามารถประมาณได้จากหรคุณเถลิงศก โดยให้ถอยหรคุณเถลิงศกไป 2 วัน 3 ชั่วโมง 57 นาที 36 วินาที (2.165 วัน หรือ 1732 กัมมัช) หรืออาจจะคำนวณตำแหน่งที่สังเกตได้จริง (สมผุส) ของดวงอาทิตย์ว่าย้ายเข้าสู่ราศีเมษ ณ วันเวลาใด ทำให้ได้สูตรหาหรคุณจูเลียนของวันมหาสงกรานต์ (โดยประมาณ) เป็น
JD วันมหาสงกรานต์ = [(292207* (พ.ศ.-1181) - 1359)/800] + 1954167.5
ตารางต่อไปนี้เป็นวันมหาสงกรานต์และวันเถลิงศกของปีนี้ ปีก่อนหน้าห้าปี และปีถัดไปอีกห้าปี สังเกตว่าบางปีจะมีเทศกาลสงกรานต์ตามที่คำนวณได้อยู่ทั้งหมดสี่วัน
ตารางวันมหาสงกรานต์[แก้]
พ.ศ. | จ.ศ. | วัน | ที่ | เดือน | เวลา | นามนางสงกรานต์ | ท่านางสงกรานต์ | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
นาฬิกา | นาที | วินาที | |||||||
2552 | 1371 | อังคาร | 14 | เมษายน | 01 | 08 | 24 | โคราคเทวี | เสด็จไสยาสน์หลับเนตร |
2553 | 1372 | พุธ | 14 | เมษายน | 07 | 21 | 00 | มณฑาเทวี | เสด็จยืน |
2554 | 1373 | พฤหัสบดี | 14 | เมษายน | 13 | 33 | 36 | กิริณีเทวี | เสด็จนั่ง |
2555 | 1374 | ศุกร์ | 13 | เมษายน | 19 | 46 | 12 | กิมิทาเทวี | เสด็จไสยาสน์ลืมเนตร |
2556 | 1375 | อาทิตย์ | 14 | เมษายน | 01 | 58 | 48 | มโหธรเทวี | เสด็จไสยาสน์หลับเนตร |
2557 | 1376 | จันทร์ | 14 | เมษายน | 08 | 11 | 24 | โคราคเทวี | เสด็จยืน |
2558 | 1377 | อังคาร | 14 | เมษายน | 14 | 24 | 00 | รากษสเทวี | เสด็จนั่ง |
2559 | 1378 | พุธ | 13 | เมษายน | 20 | 36 | 36 | มณฑาเทวี | เสด็จไสยาสน์ลืมเนตร |
2560 | 1379 | ศุกร์ | 14 | เมษายน | 02 | 49 | 12 | กิริณีเทวี | เสด็จไสยาสน์หลับเนตร |
2561 | 1380 | เสาร์ | 14 | เมษายน | 09 | 01 | 48 | มโหธรเทวี | เสด็จยืน |
2562 | 1381 | อาทิตย์ | 14 | เมษายน | 15 | 14 | 24 | ทุงษเทวี | เสด็จนั่ง |
ตารางวันเถลิงศก[แก้]
พ.ศ. | จ.ศ. | วัน | ที่ | เดือน | เวลา | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|
นาฬิกา | นาที | วินาที | |||||
2552 | 1371 | พฤหัสบดี | 16 | เมษายน | 05 | 06 | 00 |
2553 | 1372 | ศุกร์ | 16 | เมษายน | 11 | 18 | 36 |
2554 | 1373 | เสาร์ | 16 | เมษายน | 17 | 31 | 12 |
2555 | 1374 | อาทิตย์ | 15 | เมษายน | 23 | 43 | 48 |
2556 | 1375 | อังคาร | 16 | เมษายน | 05 | 56 | 24 |
2557 | 1376 | พุธ | 16 | เมษายน | 12 | 09 | 00 |
2558 | 1377 | พฤหัสบดี | 16 | เมษายน | 18 | 21 | 36 |
2559 | 1378 | เสาร์ | 16 | เมษายน | 00 | 34 | 12 |
2560 | 1379 | อาทิตย์ | 16 | เมษายน | 06 | 46 | 48 |
2561 | 1380 | จันทร์ | 16 | เมษายน | 12 | 59 | 24 |
2562 | 1381 | อังคาร | 16 | เมษายน | 19 | 12 | 00 |
อนึ่ง วันในสัปดาห์ที่แสดงในตาราง จะยึดการเปลี่ยนวันแบบสุริยคติเป็นหลัก คือเปลี่ยนวันที่เวลา 0 นาฬิกา เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ แต่การกำหนดว่านางสงกรานต์องค์ใดจะเสด็จ (ดูรายละเอียดที่หัวข้อตำนานนางสงกรานต์) ต้องยึดการเปลี่ยนวันตามแบบจันทรคติ คือเปลี่ยนที่เวลารุ่งสาง (6 นาฬิกา) เสมอ
ตัวอย่างเช่น ปี พ.ศ. 2556 วันมหาสงกรานต์ตรงกับวันที่ 14 เมษายน เวลา 01:58:48 น. ตามสุริยคติถือว่าเข้าวันใหม่คือวันอาทิตย์แล้ว แต่เนื่องจากยังไม่ถึงรุ่งสาง ทางจันทรคติจึงถือว่ายังเป็นวันเสาร์อยู่ เพราะฉะนั้น นางสงกรานต์จึงเป็นนางมโหธรเทวี ไม่ใช่นางทุงษะเทวีแต่อย่างใด
ตำนานนางสงกรานต์[แก้]
ตามจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[7] กล่าวตามพระบาลีฝ่ายรามัญว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเศรษฐีคนหนึ่ง รวยทรัพย์แต่อาภัพบุตร ตั้งบ้านอยู่ใกล้กับนักเลงสุราที่มีบุตรสองคน วันหนึ่งนักเลงสุราต่อว่าเศรษฐีจนกระทั่งเศรษฐีน้อยใจ จึงได้บวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานอยู่กว่าสามปี ก็ไร้วี่แววที่จะมีบุตร อยู่มาวันหนึ่งพอถึงช่วงที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ พอถึงก็ได้เอาข้าวสารลงล้างในน้ำเจ็ดครั้ง แล้วหุงบูชาอธิษฐานขอบุตรกับรุกขเทวดาในต้นไทรนั้น รุกขเทวดาเห็นใจเศรษฐี จึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ไม่ช้าพระอินทร์ก็มีเมตตาประทานให้เทพบุตรองค์หนึ่งนาม "ธรรมบาล" ลงไปปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี ไม่ช้าก็คลอดออกมา เศรษฐีตั้งชื่อให้กุมารน้อยนี้ว่า ธรรมบาลกุมาร และได้ปลูกปราสาทไว้ใต้ต้นไทรให้กุมารนี้อยู่อาศัย
ต่อมาเมื่อธรรมบาลกุมารโตขึ้น ก็ได้เรียนรู้ซึ่งภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ เขาได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่าง ๆ แก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมารว่า ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน ทันใดนั้นธรรมบาลกุมารจึงขอผัดผ่อนกับท้าวกบิลพรหมเป็นเวลา 7 วัน
ทางธรรมบาลกุมารก็พยายามคิดค้นหาคำตอบ ล่วงเข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมารก็ลงจากปราสาทมานอนอยู่ใต้ต้นตาล เขาคิดว่า ขอตายในที่ลับยังดีกว่าไปตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม บังเอิญบนต้นไม้มีนกอินทรี 2 ตัวผัวเมียเกาะทำรังอยู่ นางนกอินทรีถามสามีว่า พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารแห่งใด สามีตอบนางนกว่า เราจะไปกินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย ด้วยแก้ปัญหาไม่ได้ นางนกจึงถามว่า คำถามที่ท้าวกบิลพรหมถามคืออะไร สามีก็เล่าให้ฟัง ซึ่งนางนกก็ไม่สามารถตอบได้ สามีจึงเฉลยว่า ตอนเช้า ศรีจะอยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุก ๆ เช้า ตอนเที่ยง ศรีจะอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก ส่วนตอนเย็น ศรีจะอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน ธรรมบาลกุมารก็ได้ทราบเรื่องที่นกอินทรีคุยกันตลอด จึงจดจำไว้
ครั้นรุ่งขึ้น ท้าวกบิลพรหมก็มาตามสัญญาที่ให้ไว้ทุกประการ ธรรมบาลกุมารจึงนำคำตอบที่ได้ยินจากนกไปตอบกับท้าวกบิลพรหม ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกธิดาทั้งเจ็ดอันเป็นบาทบาจาริกาพระอินทร์มาประชุมพร้อมกัน แล้วบอกว่า เราจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร ถ้าจะตั้งไว้ยังแผ่นดิน ไฟก็จะไหม้โลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งในมหาสมุทร น้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดนำพานมารองรับ แล้วก็ตัดเศียรให้นางทุงษะ ผู้เป็นธิดาองค์โต จากนั้นนางทุงษะก็อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมเวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วเก็บรักษาไว้ในถ้ำคันธุลี ในเขาไกรลาศ
จากนั้นมาทุก ๆ 1 ปี ธิดาของท้าวกบิลพรหมทั้ง 7 ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมแห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานตามเดิม ในแต่ละปีนางสงกรานต์แต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์ ดังนี้
วัน | รูป | พระนาม | ดอกไม้ | อาภรณ์ | ภักษาหาร | หัตถ์ขวา | หัตถ์ซ้าย | พาหนะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
วันอาทิตย์ | นางทุงษเทวี | ดอกทับทิม | แก้วปัทมราช | อุทุมพร (ผลมะเดื่อ) | จักร | สังข์ | ครุฑ | |
วันจันทร์ | นางโคราคเทวี | ดอกปีบ | มุกดาหาร | เตล้ง (น้ำมัน) | พระขรรค์ | ไม้เท้า | พยัคฆ์ (เสือ) | |
วันอังคาร | นางรากษสเทวี | ดอกบัวหลวง | แก้วโมรา | โลหิต (เลือด) | ตรีศูล | ธนู | วราหะ (หมู) | |
วันพุธ | นางมัณฑาเทวี | ดอกจำปา | ไพฑูรย์ | นมเนย | เหล็กแหลม | ไม้เท้า | คัสพะ (ลา) | |
วันพฤหัสบดี | นางกิริณีเทวี | ดอกมณฑา | มรกต | ถั่วงา | ขอ | ปืน | คชสาร (ช้าง) | |
วันศุกร์ | นางกิมิทาเทวี | ดอกจงกลนี | บุษราคัม | กล้วยน้ำ | พระขรรภ์ | พิณ | มหิงสา (ควาย) | |
วันเสาร์ | นางมโหทรเทวี | ดอกสามหาว (ผักตบชวา) | นิลรัตน์ | เนื้อทราย | จักร | ตรีศูล | มยุรา ยูง |
สำหรับความเชื่อทางล้านนานั้นจะมีว่า
- วันอาทิตย์ ชื่อ นางแพงศรี
- วันจันทร์ ชื่อ นางมโนรา
- วันอังคาร ชื่อ นางรากษสเทวี
- วันพุธ ชื่อ นางมันทะ
- วันพฤหัส ชื่อ นางกัญญาเทพ
- วันศุกร์ ชื่อ นางริญโท
- วันเสาร์ ชื่อ นางสามาเทวี
อนึ่งท่าทางของนางสงกรานต์จะกำหนดตามเวลาที่พระอาทิตย์ย้ายเข้าสู่ราศีเมษ หรือเวลามหาสงกรานต์ตามที่คำนวณได้ ซึ่งเกณฑ์ในการกำหนดท่าทางของนางสงกรานต์เป็นดังนี้[8]
- ถ้าเวลามหาสงกรานต์เป็นเวลารุ่งสางถึงเที่ยง (6:00 น. - 11:59 น.) นางสงกรานต์ยืนมา
- ถ้าเป็นเวลาเที่ยงถึงเย็น (12:00 น. - 17:59 น.) นางสงกรานต์นั่งมา
- ถ้าเป็นเวลาค่ำถึงเที่ยงคืน (18:00 น. - 23:59 น.) นางสงกรานต์นอนลืมตามา
- ถ้าเป็นเวลาเที่ยงคืนถึงเช้ามืด (00:00 น. - 05:59 น.) นางสงกรานต์นอนหลับตามา
ข้อมูลทั้งหมดดังกล่าวนี้จะมีระบุในประกาศสงกรานต์เสมอ
กิจกรรมในวันสงกรานต์[แก้]
- การทำบุญตักบาตร ถือว่าเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวเอง และ อุทิศส่วนกุศลนั้นแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว การทำบุญแบบนี้มักจะเตรียมไว้ล่วงหน้า นำอาหารไปตักบาตรถวายพระภิกษุที่ศาลาวัด ซึ่งจัดเป็นที่รวมสำหรับทำบุญ ในวันนี้หลังจากที่ได้ทำบุญเสร็จแล้ว ก็จะมีการก่อพระทรายอันเป็นประเพณีด้วย
- การรดน้ำ เป็นการอวยพรปีใหม่ให้กันและกัน น้ำที่รดมักใช้น้ำหอมเจือด้วยน้ำธรรมดา
- การสรงน้ำพระจะรดน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด และบางที่จัด สรงน้ำพระสงฆ์ ด้วย
- บังสุกุลอัฐิ กระดูกญาติผู้ใหญ่ที่ตายแล้ว มักก่อเป็นเจดีย์ แล้วนิมนต์พระไปบังสุกุล
- การรดน้ำผู้ใหญ่ คือการไปอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ครูบาอาจารย์ ท่านผู้ใหญ่มักจะนั่งลงแล้วผู้ที่รดก็จะเอาน้ำหอมเจือกับน้ำรดที่มือท่าน ท่านจะให้ศีลให้พรผู้ที่ไปรด ถ้าเป็นพระก็จะนำผ้าสบงไปถวายให้ท่านผลัดเปลี่ยนด้วย หากเป็นฆราวาสก็จะหาผ้าถุง ผ้าขาวม้าไปให้
- การดำหัว จุดประสงค์คล้ายกับการรดน้ำทางภาคกลาง พบเห็นได้ทางภาคเหนือ การดำหัวทำเพื่อแสดงเราเคารพนับถือต่อพระ, ผู้สูงอายุ คือการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว หรือ การขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ ของที่ใช้ในการดำหัวส่วนมากมีอาภรณ์ มะพร้าว กล้วย ส้มป่อยเทียนและดอกไม้
- การปล่อยนกปล่อยปลา ถือเป็นการล้างบาปที่ทำไว้ เป็นการสะเดาะเคราะห์ร้ายให้มีแต่ความสุขความสบายในวันขึ้นปีใหม่
- การนำทรายเข้าวัด ทางภาคเหนือนิยมขนทรายเข้าวัดเพื่อเป็นนิมิตโชคลาภ ให้มีความสุขความเจริญ เงินทองไหลมาเทมาดุจทรายที่ขนเข้าวัด แต่ก็มีบางที่ เชื่อว่าตลอดปี การนำทรายที่ติดเท้าออกวัด เป็นบาป จึงขนทรายเข้าวัดเพื่อไม่ให้เป็นบาป
สงกรานต์ในแต่ละท้องที่[แก้]
สงกรานต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงมากที่สุดในสายตาชาวโลกคือสงกรานต์ในประเทศไทย จึงทำให้เทศกาลสงกรานต์ของไทยติดอันดับเทศกาลที่มีสีสันที่สุด 1 ใน 5 ของเอเชีย[9]
ส่วนในต่างประเทศ ชาวไต หรือชาวไท ในสิบสองปันนา โดยเฉพาะเมืองจิ่งหง หรือเมืองเชียงรุ่ง จะจัดงานสาดน้ำสงกรานต์ ในวันที่ 13-15 เมษายน[10] เรียกว่างานเทศกาลพัวสุ่ยเจี๋ย[11]
รูปแบบทั่วไป[แก้]
- สงกรานต์ภาคเหนือ (สงกรานต์ล้านนา) หรือ "ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง" อันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เริ่มตั้งแต่ "วันสังขารล่อง" (13 เม.ย.) ที่มีการทำความสะอาดบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล "วันเนา" หรือ "วันเน่า" (14 เม.ย.) วันที่ห้ามใครด่าทอว่าร้ายเพราะจะทำให้โชคร้ายไปตลอดทั้งปี "วันพญาวัน" หรือ "วันเถลิงศก" (15 เม.ย.) วันนี้ชาวบ้านจะตื่นแต่เช้าทำบุญตักบาตรเข้าวัดฟังธรรม ก่อนจะไปรดน้ำดำหัวขอขมาญาติผู้ใหญ่ในช่วงบ่าย "วันปากปี" (16 เม.ย.) ชาวบ้านจะพากันไปรดน้ำเจ้าอาวาสตามวัดต่างๆเพื่อขอขมาคารวะ "วันปากเดือน" (17 เม.ย.) เป็นวันที่ชาวบ้านส่งเคราะห์ต่างๆ ออกไปจากตัวเพื่อปิดฉากประเพณีสงกรานต์ล้านนา และ "วันปากวัน" (18 เม.ย.)
- สงกรานต์ภาคอีสาน นิยมจัดกันอย่างเรียบง่าย แต่ว่ามากไปด้วยความอบอุ่น โดยคนอีสานจะเรียกประเพณีสงกรานต์ว่า "บุญเดือนห้า" หรือ"ตรุษสงกรานต์" บางพื้นที่จะเรียกว่า “เนา” และจะถือฤกษ์ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เวลาบ่าย 3 โมง เป็นเวลาเริ่มงานโดยพระสงฆ์จะตีกลองโฮมเปิดศักราช จากนั้นญาติโยมจะจัดเตรียมน้ำอบหาบไปรวมกันที่ศาลาวัดเพื่อสรงน้ำพระพุทธรูป แล้วต่อด้วยการรดน้ำดำหัว ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติผู้ใหญ่ เพื่อขอขมาลาโทษจากนั้นก็จะเป็นการเล่นสาดน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน
- สงกรานต์ภาคใต้ ตามความเชื่อของประเพณีสงกรานต์แบบดั้งเดิมที่ภาคใต้แล้ว สงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งการผลัดเปลี่ยนเทวดาผู้รักษาดวงชะตาบ้านเมือง พวกเขาจึงถือเอาวันแรกของสงกรานต์ (13 เม.ย.) เป็น "วันส่งเจ้าเมืองเก่า" โดยจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์สิ่งไม่ดีออกไป ส่วน "วันว่าง" (14 เม.ย.) ชาวนครจะไปทำบุญตักบาตรที่วัด และสรงน้ำพระพุทธรูป และวันสุดท้ายเป็น "วันรับเจ้าเมืองใหม่" (15 เม.ย.) จะทำพิธีต้อนรับเทวดาองค์ใหม่ด้วยการแต่งองค์ทรงเครื่องอย่างสวยงามส่งท้ายสงกรานต์ประเพณีสงกรานต์
- สงกรานต์ภาคกลาง เริ่มขึ้นในวันที่ 13 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เมษายน เป็น "วันกลาง" หรือ "วันเนา" และวันที่ 15 เมษายน เป็นวันวันเถลิงศก ทั้ง 3 วันประชาชนจะประกอบพิธีทางศาสนา มีการทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ การสรงน้ำพระ การขนทรายเข้าวัดก่อพระเจดีย์ทราย
รูปแบบเฉพาะ[แก้]
- สงกรานต์ผูกสายสิญจน์เชื่อมโยงพระธาตุสองแผ่นดิน หรือ สงกรานต์นครพนม รื่นรมย์ บุญปีใหม่ไทย-ลาว ณ อำเภอเมืองและอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม ในงานจะมีการฮดสรง หรือสรงน้ำพระธาตุประจำวันเกิดทั้ง 7 แห่ง
- สงกรานต์อุ้มสาวลงน้ำ หรือ ประเพณีสงกรานต์อุ้มสาวลงน้ำ ณ เกาะสีชัง และเกาะขามใหญ่ จังหวัดชลบุรี
- สงกรานต์นางดาน หรือ เทศกาลมหาสงกรานต์เมืองนครศรีธรรมราช จัดขึ้น ณ สวนศรีธรรมาโศกราช สนามหน้าเมือง หอพระอิศวร
- สงกรานต์ปาร์ตี้โฟม มีพื้นที่ปาร์ตี้โฟมที่ปิดล้อมด้วยพลาสติกใส
- สงกรานต์ล่องเรือสาดน้ำ เป็นการนั่งเรือหางยาวสาดน้ำสงกรานต์กับชุมชนริมสองฟากฝั่งคลอง
- หาดใหญ่ มิดไนท์ สงกรานต์ ณ ถนนเสน่หานุสรณ์ และถนนนิพัทธ์อุทิศ 3 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในช่วงเย็นถึงกลางคืน โดยเทศกาลนี้ได้เริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547
- การเล่นคลื่นมนุษย์ถนนข้าวเหนียว จ.ขอนแก่น ในช่วงท้ายของกิจกรรมถนนข้าวเหนียว ประชาชนและนักท่องเที่ยวจะพร้อมใจกันทำคลื่นมนุษย์ที่ยาวที่สุดพร้อมกันอย่างสวยงามซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสงกรานต์ ถนนข้าวเหนียว เป็นแห่งเดียวในไทยที่มีกิจกรรมเช่นนี้ จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2552
คำขวัญวันสงกรานต์[แก้]
- พ.ศ. 2552 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้คำขวัญว่า "สงกรานต์สมานสามัคคี สืบทอดประเพณี ทุกชีวีปลอดภัย"[12]
- พ.ศ. 2553 มีการประกวดคำขวัญโดยคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ มีคำขวัญว่า "สงกรานต์สร้างสรรค์ ยึดมั่นประเพณี ปลอดภัยทุกชีวี สามัคคีทั่วไทย" พรเทพ ประดิษฐ์ชัยกุล ชนะการประกวดคำขวัญประจำปีนี้[12]
- พ.ศ. 2555 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้คำขวัญว่า "รณรงค์ปลอดภัย ตายเป็นศูนย์"[13]
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ: Songkran |
สถิติอุบัติเหตุวันสงกรานต์[แก้]
เทศกาลสงกรานต์ | อุบัติเหตุ (ครั้ง) | ผู้ประสบอุบัติเหตุ (คน) | ||
---|---|---|---|---|
เสียชีวิต | บาดเจ็บ | รวม | ||
ปี 2550 | ||||
11-17 เม.ย. 2550 | 4,274 | 361 | 4,805 | 5,166 |
เฉลี่ยต่อวัน | 611 | 52 | 686 | 738 |
ปี 2551 | ||||
11-17 เม.ย. 2551 | 4,243 | 368 | 4,803 | 5,171 |
เฉลี่ยต่อวัน | 606 | 53 | 686 | 739 |
ปี 2552 | ||||
10-16 เม.ย. 2552 | 3,977 | 373 | 4,332 | 4,705 |
เฉลี่ยต่อวัน | 568 | 53 | 619 | 672 |
ปี 2553 | ||||
12-18 เม.ย. 2553 | 3,516 | 361 | 3,802 | 4,163 |
เฉลี่ยต่อวัน | 502 | 52 | 543 | 595 |
ปี 2554 | ||||
11-17 เม.ย. 2554 | 3,215 | 271 | 3,476 | 3,747 |
เฉลี่ยต่อวัน | 459 | 39 | 497 | 535 |
ปี 2555 | ||||
11-17 เม.ย. 2555 | 3,129 | 320 | 3,320 | 3,640 |
เฉลี่ยต่อวัน | 447 | 46 | 474 | 520 |
ปี 2556 | ||||
11-17 เม.ย. 2556 | 2,828 | 321 | 3,040 | 3,361 |
เฉลี่ยต่อวัน | 404 | 45 | 434 | 480 |
อ้างอิง วิกิพีเดีย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)