วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557

NAS คืออะไร

ยุคนี้สมัยนี้เป็นยุคดิจิทัล เราจะเก็บงาน เก็บหนัง เก็บเพลง หรือโปรแกรมต่างๆ ก็เก็บเป็นไฟล์ใส่ในฮาร์ดดิส ไว้ กันจนเกือบเต็มพื้นที่ไปหมด เป็นการดีส่วนหนึ่งคือเป็นการลดพื้นที่การจัดเก็บข้อมูล ไม่ต้องเก็บข้อมูลที่เป็นกระดาษ หรือเป็นสื่ออื่นๆ เช่น แผ่นฟลอปปี้ดิส, ซีดี, ดีวีดี โดยเปลี่ยนการจัดเก็บเป็นแท่งยูเอสบีแฟลชไดรฟ์ หรือใส่ในฮาร์ดดิสไปเลย
ซึ่งปัจจุบันขนาดพื้นที่ฮาร์ดดิส 80GB หรือ 160GB ก็แทบจะไม่พอใช้กัน เก็บกันทั้งหนัง เกมส์ ซีรีย์(เกาหลี) และอื่นๆ อีกมากมาย หลายคนจึงเริ่มมองหาฮาร์ดดิสตัวใหม่เข้ามาเพิ่ม ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็มีหลากหลายรูปแบบในเลือก ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดดิสก์แบบต่อภายใน ฮาร์ดดิสก์ต่อภายนอก และอีกทางเลือกหนึ่งคือ NAS หรือ Network Attached Storage ซึ่งมองแค่ภายนอกมันก็คล้ายฮาร์ดดิสก์ภายนอกตัวหนึ่ง จะว่าคล้ายก็ไม่ถูกนัก เพราะจริงๆ แล้วก็เป็นฮาร์ดดิสก์ต่อภายนอกตัวหนึ่งแต่มันมีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นมามากกว่า เดิมนัก
NAS หรือ Network Attached Storage นั้น เป็นอุปกรณ์ที่มีระบบต่างๆ เพิ่มเข้ามาจากเดิมที่มีแค่สายยูเอสบี หรือไฟร์ไวร์ ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง แต่ NAS มีสายแลนหรืออาจเป็นสัญญาณไวไฟเป็นตัวเชื่อมต่อ ประโยชน์คือสามารถใช้งานร่วมกันหลายๆ คนได้ทันที ไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้เพื่อแชร์ข้อมูล (เปลืองไฟ) เปิดแค่ NAS ทิ้งไว้เท่านั้น ซึ่งประหยัดไฟกว่ามาก
NAS นั้นเปรียบเสมือนกับว่าเป็นระบบไฟล์เซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ มีการเข้าถึงทำงานแบบไฟล์บนเซิร์ฟเวอร์โดยไคลเอ็นต์ หรือเวิร์กสเตชันผ่านทางเน็ตเวิร์กโพรโตคอลเช่น TCP/IP และผ่านทางแอพพลิเคชันเช่น NFS (Network File System) หรือ CIFS (Common Internet File System) ทำให้ไคลเอ็นต์ที่เชื่อมต่ออยู่บนระบบเน็ตเวิร์กสามารถแลกเปลี่ยนไฟล์กันได้ และการเข้าถึงไฟล์ข้อมูลนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการเชื่อมต่อซึ่งมีอยู่ภายในไคลเอ็นต์อยู่แล้ว โดยโครงสร้างของ NAS นั้นเน้นการให้บริการด้านไฟล์ ดังนั้นจึงช่วยให้การจัดการเข้าถึงไฟล์สามารถทำได้ด้วยความรวดเร็ว และนอกจากนี้ผู้ใช้สามารถตั้งโปรแกรมให้ NAS แบ็กอัพไดเรกทอรีหรือฮาร์ดดิสก์ของไคลเอ็นต์ได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ดีอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสำรองข้อมูลที่ลดความเสี่ยงใน การสูญเสียข้อมูลให้น้อยลง

NAS นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการแชร์ไฟล์ เช่น NFS ในยูนิกซ์ หรือ CIFS ในวินโดวส์ เอ็นที โดยสามารถส่งไฟล์ข้อมูลไปให้กับหลายๆ ไคลเอ็นต์ โดยที่มีการป้องกันในเรื่องความปลอดภัยได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของแอพพลิเคชันที่ควรใช้ NAS เพื่อประสิทธิภาพการทำงานมี 2 แอพพลิเคชันคือ ระบบไดเรกทอรี่และเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยทั้งสองแอพพลิเคชันนี้มีการดึงข้อมูลเพื่อนำไปใช้ แจกจ่าย หรือไปสร้างเว็บเพจนั้นเองและสำหรับในองค์กรที่มีการใช้ฐานข้อมูล มีการเข้าถึงข้อมูลแบบอ่านอย่างเดียว (จำกัดสิทธิ์) มีผู้ใช้งานน้อย ระบบ NAS จะสามารถช่วยการลดค่าใช้จ่ายขององค์กรแบบนี้ลงได้เช่นกัน
นอกจากคุณสมบัติหลัก ๆที่กล่าวมาแล้ว NAS กับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนทำให้มันมีคุณสมบัติต่าง ๆ มากมายซึ่งสามารถ เช่น
  • เป็น Multimedia Server สำหรับเก็บและแชร์ไฟล์เพลง รูปถ่าย หนัง ใช้งานร่วมกับ DMA รวมทั้งเครื่อง PS3 และ Xbox360
  • จัดการระบบและเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่ผ่านทางอินเตอร์เน็ต
  • ใช้เป็น print server, web server และ mail server สำหรับสำนักงานได้
  • USB copy
  • USB Backup เพื่อใช้สำรองข้อมูลร่วมกับ External Hard
  • Download ข้อมูลได้โดยไม่ต้องเปิดคอมพิวเตอร์ รองรับ BitTorrent, FTP, HTTP, NZB, และ eMule
  • รองรับการทำงานแบบ Standard, JBOD, RAID 0, RAID 1
  • รองรับการใช้งานได้หลาย ๆผู้ใช้งานพร้อมกัน
NAS แต่ละตัวความสามารถอาจไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับราคาและรุ่นนะครับ อันนี้ก็ต้องเลือกพิจารณากันเอาเอง แต่ผมว่าเจ้า NAS จะต้องเข้าไปอยู่ในใจของใครหลายคนแล้วแน่เลยครับ
ที่มา blognone.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น