วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558
วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558
ทำไมต้องใช้ SERVER ไม่ใช้ PC
คำถามที่ว่า ทำไมต้องใช้ Server ไม่ใช้ PC เป็นคำถามยอดฮิต ขององค์กรที่มีงบประมาณค่อนข้างต่ำ หรือแม้แต่บางองค์กรใหญ่ๆ ก็รู้สึกว่าการซื้อ Server เกินความจำเป็น แต่ก่อนผมก็เคยรู้สึกเช่นนั้นเหมือนกัน เพราะ PC ก็รันได้ อัดแอร์ให้ 24 ชม. หน่อย มันก็วิ่งไปได้ มีหลายเครื่องหน่อย คอยทดแทนกัน ถ้าพูดเช่นนั้น ก็ต้องบอกว่าจริง มีหลายองค์กรที่นำ PC มาทำเป็น Server แล้วก็ทำการเปลี่ยนทุกๆ 1 ปี ก็ว่ากันไป ก็อาจจะทำให้ประหยัดกว่าซื้อ Server 1 เครื่อง แต่คำถามก็คือ ทำอย่างนั้นได้ การใช้งานก็คงต้องไม่มาก เพราะ PC ก็ทำมาให้ใช้ได้แค่ 1 CPU เท่านั้นหรือเขาเรียกกันว่า 1way หรือระบบงานคงไม่ซีเรียสมาก เพราะคุณคงต้องตั้งคำถามในใจว่า หาก Server ตัวนี้พัง Harddisk พัง หรือล่มขึ้นมา อะไรจะเกิดขึ้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะมากเพียงใด ถ้าไม่มากก็คงใช้ PC ได้แต่หากมีผลเสียหายมากคุณจะเอาความเสี่ยงนั้นฝากไว้กับ PC ราคาหมื่นกว่าบาท หรือฝากไว้กับส่วนต่างที่ต่างกันไม่กี่หมื่นเท่านั้น
โดยส่วนตัวในฐานะบริษัท SME เล็กๆ ก็ใช้ Server ในการให้บริการลูกค้า ก็เริ่มจากเครื่องประกอบ แต่พอซื้อบ่อยๆเข้าเลยเริ่มมาใช้เครื่อง Brand Name ก็รู้สึกว่ามีความแตกต่างในอุปกรณ์ และระบบต่างๆ ในราคาที่ไม่ต่างกันมาก แต่ก็ยังใช้ Server ขนาดเล็กๆเท่านั้น แต่พอใช้ไปสัก 2-3 ปี Server เริ่มมีปัญหาก็เริ่มรู้ว่า ปัญหามันเสียหายมากจริงๆ จนต้องเริ่มคิดถึงการลงทุนด้าน Server มากขึ้น จนทุกวันนี้ก็ทำให้พร้อมที่จะใช้ Server ระดับสูงและคุณภาพดีอย่าง Blade Server เป็นต้น ก็เป็นสิ่งที่เขียนเล่าสู่กันพัง
แล้ว PC กับ Server ต่างกันตรงไหนล่ะ
โดยส่วนตัวในฐานะบริษัท SME เล็กๆ ก็ใช้ Server ในการให้บริการลูกค้า ก็เริ่มจากเครื่องประกอบ แต่พอซื้อบ่อยๆเข้าเลยเริ่มมาใช้เครื่อง Brand Name ก็รู้สึกว่ามีความแตกต่างในอุปกรณ์ และระบบต่างๆ ในราคาที่ไม่ต่างกันมาก แต่ก็ยังใช้ Server ขนาดเล็กๆเท่านั้น แต่พอใช้ไปสัก 2-3 ปี Server เริ่มมีปัญหาก็เริ่มรู้ว่า ปัญหามันเสียหายมากจริงๆ จนต้องเริ่มคิดถึงการลงทุนด้าน Server มากขึ้น จนทุกวันนี้ก็ทำให้พร้อมที่จะใช้ Server ระดับสูงและคุณภาพดีอย่าง Blade Server เป็นต้น ก็เป็นสิ่งที่เขียนเล่าสู่กันพัง
แล้ว PC กับ Server ต่างกันตรงไหนล่ะ
- Alert ต่างๆ : อันนี้ต้องบอกว่า PC นั้นไม่มี และ Server ประกอบก็ไม่มีเช่นกัน เทคโนโลยี่ Server นั้นก้าวไกลมาก ถึงขนาดที่ Server บางรุ่น สามารถบอกให้คุณได้รู้ล่วงหน้าด้วยซ้ำว่าอุปกรณ์กำลังจะเสีย เสียชิ้นไหน เสียตัวที่เท่าไร ลองนึกภาพ หากคุณใส่ Memory ไปทั้งหมด 8 แถว แล้วเกิด Memory เสีย สิ่งที่เราต้องทำก็คือ ถอดออกทีละแถว แล้วรันดูว่าอันไหนเสีย แต่เทคโนโลยี่ Server บางยี่ห้อ สามารถกดปุ่มใน board แล้วขึ้นไฟบอกได้เลยว่า Memory แถวไหนเสีย หรือหาก Harddisk กำลังเสีย วิ่งด้วยความเร็วผิด Speed ก็จะแจ้งเตือนที่หน้าเครื่องว่ากำลังจะเสีย สิ่งนี้คุณจะไม่พบได้เลยใน PC หรือแม้กระทั้ง Server ประกอบ
- Mainboard : จริงๆแล้ว Mainboard เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการทำงานทั้งหมดของคอมพิวเตอร์ ชื่อก็บอกอยู่ล่ะว่า Main ถามต่อไปว่าต่างกันขนาดนั้น คงต่างกันที่สถาปัตยกรรม Board Server ถูกออกแบบมาให้รันได้ตลอด 24 ชม แต่ PC ไม่ใช่อย่างนั้น ส่วน Slot ต่างๆก็จะแตกต่างกัน Server โดยส่วนใหญ่จะ Onboard พวกการ์ดจอ และก็เช่นกัน มักไม่มี Sound Card ทั้งที่เพราะส่วนใหญ่นำ Server ไว้ share file รัน application เลยไม่ค่อยฟังเสียงกัน คนที่ใช้งาน multimedia มากๆมักจะใช้ workstation มากกว่า Server
สำหรับความแตกต่างด้านราคานั้น ผมเคยซื้อตัวประกอบ Mainboard PC จะอยู่ที่ 1,500 - 3,000 แต่ถ้า Server ราคามักจะเริ่มต้นที่ 10,000 บาทสำหรับ Mainboard นี่คือพวก Server ประกอบนะครับ แต่เดี๋ยวนี้ Brand name ก็ถูกกว่าประกอบได้ - Power Supply : Power Supply นั้นเป็นส่วนสำคัญ ป็นระบบจ่ายไฟของทั้งระบบ สำหรับตัวนี้นั้นสำหรับ Server ก็เช่นกัน ถูกออกแบบมาให้เปิดใช้งานได้ตลอด 24 ชม เท่าที่ผมเคยซื้อ มันตัวนึงก็ 5 พันกว่าบาทได้ นี่แบบถูกๆเลยนะ แต่เราจะเห็นว่า Power Supply PC มันลูกละ 150 บาทได้มั้ง เห็นว่ามันต่างกัน แล้วผมเคยมีประสบการณ์ บางคนใช้ PC แล้ว Power Supply ไหม้ ส่งผลถึงข้อมูลระบบ มันละลายลงไปโดน mainboard ทำให้ harddisk พังข้อมูลพัง จบเลยงานนี้ ดังนั้นท่านต้องคิดแล้วล่ะว่าข้อมูลท่านสำคัญมากน้อยแค่ไหน
อีกอย่างที่ขาดไม่ได้เลย สำหรับ Server นั้นมีหลายรุ่นที่มี Reduntdant Power Supply นั้นคือ มันมี Power Supply 2 ตัวในเครื่องเดียว ป้องกัน Power Supply พัง แล้วยังเป็น Hot swap ด้วย นั้นคืออันไหนพังเราก็ดึงออกได้เลย โดยไม่ต้องปิดเครื่อง แล้วเสียบเข้าได้โดยไม่ต้องปิดเครื่องเช่นกัน ก็จะไม่มี Downtime เลยว่างั้น - CPU : CPU นั้นต่างกันแน่นอน แต่ก็มี CPU ที่ไม่ต่างกันคือพวก CPU ตระกูล Pentium ทั้งหลาย บน Server กับ PC นั้นไม่ต่างกัน แต่สำหรับ Server เองที่อยู่ในระดับสูงนิดนึงก็จะมี XEON Processor เป็น Server ที่สำหรับ Server ใส่ได้ตั้งแต่ 2 ตัว 4 ตัว 8 ตัว 16 ตัว แล้วแต่ Mainboard จะเห็นว่าหากคุณรันงานหนักๆ คงไม่มีทางที่จะเอา CPU Pentium เพียงตัวเดียวมาทำงาน งานบางงานระดับ Software House ก็ใช้ Server ตัวนึงเป็นล้านๆ แต่ถามว่าแม้เป็นล้าน มันก็ทำงานได้หลายล้านเช่นกัน สรุปคือ CPU มีจำนวนที่ใส่ได้มากกว่า แล้วสามารถรองรับ Application ที่รันหนักๆได้อย่างดี
- Memory : บางคนอาจจะ โห มันต่างกันด้วยเหรอ ต่างครับ Server จะใช้ Memory ที่เรียกว่า ECC Memory จะเป็น Memory ที่มีระบบป้องกันการส่งข้อมูลผิดพลาด อีกทั้ง Memory สำหรับบางยี่ห้อที่เป็น Chipkll คือเป็นเหมือน Mirror Memory เลยทีเดียว คือ หากคุณมี Memory 4 แถว เกิดพังไป 1 แถว ถ้าเป็น PC รันไปถึง Memory ตัวนั้นก็คงแฮงไปเลย แต่ Server ไม่พังคับ ก็ยังรันต่อไปได้ โดยไม่มีสะดุด้
- Hard Drive : หรือ Harddisk นั้นแหละ ทำไมต่างกันนั้นเหรอ สำหรับ PC เราคงรู้จัก IDE กัน แล้วก็เดี๋ยวนี้คงเป็น Serial ATA (SATA) มาแทน IDE แต่สำหรับ Server นั้นจะสามารถใช้งาน SCSI ได้ ซึ่งเป็น Harddisk ที่ดีที่สุด ณ ตอนนี้ แล้วยังมีเทคโนโลยี่ใหม่เรียกว่า SAS (แซด) ฟังดูเศร้าๆ แต่ก็เป็นเทคโนโลยี่ของ SCSI ใหม่ที่ทำให้ทำงานได้เร็วขึ้นไปอีก
- RAID Controller : RAID หลายคนอาจจะฟังแล้วไม่คุ้น บางคนก็คงคุ้นเคย ใน PC นั้นไม่มี RAID แน่นอนทำให้เลยไม่คุ้นสักเท่าไร แต่ใน Server นั้น RAID มีความสำคัญมาก ถ้าพูดถึงข้อมูลแล้ว เราคงให้ความสำคัญอย่างมาก ดังนั้นเลยมีเทคโนโลยี่ RAID เพื่อช่วยป้องกัน Harddisk พัง ซึ่งจะทำให้มี Harddisk ที่พร้อมทำงานแทนตลอดเวลาเมื่อลูกใดลูกหนึ่งพัง ก็ไม่ต้องมานั่งกู้ข้อมูล Restore กันให้วุ่นวาย รวมถึง RAID ยังสามารถทำให้ประสิทธิภาพในการเรียกใช้งาน Harddisk ทำได้เร็วขึ้นด้วย ก็มีเช่นกัน ดังนั้นทำให้หลายองค์กรก็เลือกใช้ RAID เพื่อป้องกันข้อมูลที่สำคัญของตนเอง ไว้ผมจะเขียนเรื่อง RAID ให้ว่าแต่ละ RAID ต่างกันอย่างไรมันมีตั้งแต่ RAID 0,1,5,0+1,10 สารพัด RAID
ข้อมูลจาก http://www.2beshop.com/
วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558
ทำไมเข้าที่หนึ่งทำไมเราเกือบโหล ?
คอลัมน์ Education Ideas โดย วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์
ฟินแลนด์ ประเทศเล็ก ๆ ในยุโรปตอนบน มีประชากรประมาณห้าล้านคน ทั้งยังเป็นประเทศที่มีความจริงจังมากในด้านการพัฒนาคุณภาพคน เพราะคนที่นี่มีคุณภาพ มีชีวิตความเป็นอยู่ดี มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจน้อยมาก เพราะมีการเก็บภาษีสูง และมีการพัฒนาการศึกษาอย่างจริงจัง
ในการสำรวจประเมินผลคุณภาพการศึกษา โดยองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจและพัฒนา ซึ่งใช้รูปแบบการวัดผลที่เน้นวัดความรู้ในการแก้ปัญหา และการใช้ภาษาของสมาชิกกลุ่ม OECD ที่ชื่อ PISA (ProgramFor International Student Assessment) นักเรียนของฟินแลนด์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นนักเรียนที่มีคุณภาพที่สุดในโลกติดต่อกันมาโดยตลอด
สิ่งที่น่าแปลกคือการจัดการศึกษาของเขากับของเรามันช่างตรงกันข้ามแทบทุกเรื่อง
1.ที่ฟินแลนด์ ผู้ปกครองจะให้เด็กเรียนเมื่ออายุหก-เจ็ดขวบ เขาไม่เน้นโรงเรียนอนุบาล เพราะอยากให้เด็กอยู่กับครอบครัว เขาเชื่อว่าครอบครัวให้ความรัก ความรู้ และถ่ายทอดวัฒนธรรม สร้างสิ่งดีงามให้เด็กได้ดีกว่าโรงเรียนอนุบาล ส่วนบ้านเรา แข่งกันเข้าอนุบาล เดี๋ยวนี้มีติวเข้าอนุบาลกันแล้ว เพราะเขารู้ว่าการศึกษาคือเรื่องของการพัฒนาคน ไม่ใช่แค่การส่งลูกเข้าโรงเรียน
2.เด็กที่นี่ (ฟินแลนด์) เรียนไม่เกินวันละห้าชั่วโมง (ในระดับประถม) ด้วยแนวคิดที่จะให้เด็กมีเวลาทำสิ่งที่ชอบ กิจกรรมที่สนใจ ส่วนเด็กไทย อัดกันเข้าไป จนไม่เหลือเวลาให้คิด ค้นหา และเรียนรู้เรื่องที่ตนสนใจ
3.ห้องเรียนเขากำหนดให้มีเด็กห้องละ 12 คน มากสุดก็ 20 คนครับ โรงเรียนยิ่งดี ยิ่งจำกัดจำนวนเด็กต่อห้อง เพราะเขาจะพัฒนาคน และคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน เขาอยากพัฒนาศักยภาพเด็กแต่ละคน เด็กได้คิด พูด นำเสนอ แม้การสอบ ข้อสอบของเด็กในห้อง บางทีก็ต่างกันเขาไม่ได้สอบเพื่อแข่งขัน แต่ใช้เพื่อพัฒนาเด็กแต่ละคน การดูแลเป็นรายคนจึงสำคัญ ส่วนของเรา บางโรง ห้องละ 50 คนครับ
4.ฟินแลนด์ ไม่ให้เกรดเฉลี่ยมาเป็นตัวสร้างความภูมิใจ หรืออับอายให้เด็ก การเรียนคือการพัฒนาแต่ละคน ไม่ใช่การแข่งขัน เขาจะส่งผลการเรียนให้เฉพาะตัว ไม่มีการประกาศ ที่สำคัญ เขาไม่มีเกรดเฉลี่ยครับ
5.การสอบ เขาจะไม่ใช้ข้อสอบมาตรฐาน มาเป็นตัววัดนักเรียนทั้งประเทศ เขาให้โรงเรียนกำหนดข้อสอบที่แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโรงเรียน ส่วนเราทำตรงกันข้ามกับเขาเลยครับ เอาข้อสอบเดียวกันไปวัดเด็กทั้งประเทศ เพื่อให้เกิดความยุติธรรม เป็นมาตรฐานเดียวกัน
แนวคิดเรื่องมาตรฐานนี้ น่าจะใช้กับการผลิตสินค้า แต่โรงเรียนไม่ใช่โรงงานผลิตคนครับ การศึกษาไม่ใช่อุตสาหกรรม
6.เขาจ้างผู้อำนวยการมาบริหารโรงเรียน และให้กรรมการโรงเรียนดูแล ผลงานไม่ดีเชิญออกได้ เขาไม่ได้ใช้ระบบราชการ ระบบวิ่งเต้นเอาใจนักการเมือง เอาใจผู้ใหญ่ในกระทรวงมากำหนดผู้บริหารโรงเรียน
ส่วนบ้านเราก็อย่างที่เห็น ปกติที่ทำกันมาคือใครมีอายุราชการนาน ก็ย้ายไปโรงเรียนใหญ่ขึ้น หรือบางทีก็ถูกย้ายเพราะทำงานบกพร่อง ให้ย้ายไปโรงเรียนเล็ก โรงเรียนไกล อ้าว ถ้าบกพร่องแล้วย้ายไป โรงเรียนเล็ก โรงเรียนไกล เด็กโรงเรียนเล็ก ครูโรงเรียนเล็ก ไม่มีค่าควรพัฒนาหรือครับ ก็ต้องรับเคราะห์ สิครับ
โรงเรียนเขาจึงมีคุณภาพ เพราะการกระจายอำนาจ ไม่มีใครรักเด็กนักเรียนเท่าพ่อแม่ และครูที่โรงเรียนหรอกครับ ก็เราทำตรงข้ามที่หนึ่ง แทบทุกเรื่อง มันถึงเป็นที่โหล่
7.อาชีพครูที่ฟินแลนด์ เป็นอาชีพที่มีรายได้สูงมาก เงินเดือนเฉลี่ยมากกว่าอาชีพอื่น ๆ และสถานะทางสังคมก็ดี ความใฝ่ฝันของเด็ก ๆ หลายคนคืออยากเป็นครู ประเทศเล็ก ๆ นี้ จึงมีคนตั้งใจอยากเป็นครูกันเยอะ คนที่เก่งที่สุดของประเทศจะแข่งกันเป็นครู และครูทุกคนจะต้องจบการศึกษาด้านครูในระดับปริญญาโท
ส่วนใครเรียนด้านอื่นต้องไปต่อปริญญาโทด้านครูจึงมาสมัครสอนได้ ครูที่นี่มีความสุขครับ เพราะฐานะดี สอนก็น้อย มีวันหยุดยาว ๆ ครูจึงมีเวลา อบรมพัฒนาตัวเอง มีเวลาทำกิจกรรมแบ่งปันสู่สังคมเยอะครับ ไม่ต้องมาทำกวดวิชา ทำขนมขาย หรือขายตรง ขายประกัน ครูบ้านเรา รายได้น้อย ยังต้องดิ้นรน หลายท่านเอาตัวเองแทบไม่รอด ยังมาเจอภาระงานประหลาด ๆ การวัดกระดาษมากมายจากโรงเรียน
หลายท่านบ่นว่าช่วงปิดเทอมบางทีก็ไม่ได้หยุด แล้วจะมีความสุข ความหวังอะไรมาถ่ายทอดสู่เด็กล่ะครับ ก็เหลือและหวังได้แต่หัวใจครูเท่านั้นแหละ
หวังว่าความต่างกันในการจัดการศึกษานี้น่าจะเป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษาบ้านเราได้นะครับ
ในการสำรวจประเมินผลคุณภาพการศึกษา โดยองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจและพัฒนา ซึ่งใช้รูปแบบการวัดผลที่เน้นวัดความรู้ในการแก้ปัญหา และการใช้ภาษาของสมาชิกกลุ่ม OECD ที่ชื่อ PISA (ProgramFor International Student Assessment) นักเรียนของฟินแลนด์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นนักเรียนที่มีคุณภาพที่สุดในโลกติดต่อกันมาโดยตลอด
สิ่งที่น่าแปลกคือการจัดการศึกษาของเขากับของเรามันช่างตรงกันข้ามแทบทุกเรื่อง
1.ที่ฟินแลนด์ ผู้ปกครองจะให้เด็กเรียนเมื่ออายุหก-เจ็ดขวบ เขาไม่เน้นโรงเรียนอนุบาล เพราะอยากให้เด็กอยู่กับครอบครัว เขาเชื่อว่าครอบครัวให้ความรัก ความรู้ และถ่ายทอดวัฒนธรรม สร้างสิ่งดีงามให้เด็กได้ดีกว่าโรงเรียนอนุบาล ส่วนบ้านเรา แข่งกันเข้าอนุบาล เดี๋ยวนี้มีติวเข้าอนุบาลกันแล้ว เพราะเขารู้ว่าการศึกษาคือเรื่องของการพัฒนาคน ไม่ใช่แค่การส่งลูกเข้าโรงเรียน
2.เด็กที่นี่ (ฟินแลนด์) เรียนไม่เกินวันละห้าชั่วโมง (ในระดับประถม) ด้วยแนวคิดที่จะให้เด็กมีเวลาทำสิ่งที่ชอบ กิจกรรมที่สนใจ ส่วนเด็กไทย อัดกันเข้าไป จนไม่เหลือเวลาให้คิด ค้นหา และเรียนรู้เรื่องที่ตนสนใจ
3.ห้องเรียนเขากำหนดให้มีเด็กห้องละ 12 คน มากสุดก็ 20 คนครับ โรงเรียนยิ่งดี ยิ่งจำกัดจำนวนเด็กต่อห้อง เพราะเขาจะพัฒนาคน และคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน เขาอยากพัฒนาศักยภาพเด็กแต่ละคน เด็กได้คิด พูด นำเสนอ แม้การสอบ ข้อสอบของเด็กในห้อง บางทีก็ต่างกันเขาไม่ได้สอบเพื่อแข่งขัน แต่ใช้เพื่อพัฒนาเด็กแต่ละคน การดูแลเป็นรายคนจึงสำคัญ ส่วนของเรา บางโรง ห้องละ 50 คนครับ
4.ฟินแลนด์ ไม่ให้เกรดเฉลี่ยมาเป็นตัวสร้างความภูมิใจ หรืออับอายให้เด็ก การเรียนคือการพัฒนาแต่ละคน ไม่ใช่การแข่งขัน เขาจะส่งผลการเรียนให้เฉพาะตัว ไม่มีการประกาศ ที่สำคัญ เขาไม่มีเกรดเฉลี่ยครับ
5.การสอบ เขาจะไม่ใช้ข้อสอบมาตรฐาน มาเป็นตัววัดนักเรียนทั้งประเทศ เขาให้โรงเรียนกำหนดข้อสอบที่แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโรงเรียน ส่วนเราทำตรงกันข้ามกับเขาเลยครับ เอาข้อสอบเดียวกันไปวัดเด็กทั้งประเทศ เพื่อให้เกิดความยุติธรรม เป็นมาตรฐานเดียวกัน
แนวคิดเรื่องมาตรฐานนี้ น่าจะใช้กับการผลิตสินค้า แต่โรงเรียนไม่ใช่โรงงานผลิตคนครับ การศึกษาไม่ใช่อุตสาหกรรม
6.เขาจ้างผู้อำนวยการมาบริหารโรงเรียน และให้กรรมการโรงเรียนดูแล ผลงานไม่ดีเชิญออกได้ เขาไม่ได้ใช้ระบบราชการ ระบบวิ่งเต้นเอาใจนักการเมือง เอาใจผู้ใหญ่ในกระทรวงมากำหนดผู้บริหารโรงเรียน
ส่วนบ้านเราก็อย่างที่เห็น ปกติที่ทำกันมาคือใครมีอายุราชการนาน ก็ย้ายไปโรงเรียนใหญ่ขึ้น หรือบางทีก็ถูกย้ายเพราะทำงานบกพร่อง ให้ย้ายไปโรงเรียนเล็ก โรงเรียนไกล อ้าว ถ้าบกพร่องแล้วย้ายไป โรงเรียนเล็ก โรงเรียนไกล เด็กโรงเรียนเล็ก ครูโรงเรียนเล็ก ไม่มีค่าควรพัฒนาหรือครับ ก็ต้องรับเคราะห์ สิครับ
โรงเรียนเขาจึงมีคุณภาพ เพราะการกระจายอำนาจ ไม่มีใครรักเด็กนักเรียนเท่าพ่อแม่ และครูที่โรงเรียนหรอกครับ ก็เราทำตรงข้ามที่หนึ่ง แทบทุกเรื่อง มันถึงเป็นที่โหล่
7.อาชีพครูที่ฟินแลนด์ เป็นอาชีพที่มีรายได้สูงมาก เงินเดือนเฉลี่ยมากกว่าอาชีพอื่น ๆ และสถานะทางสังคมก็ดี ความใฝ่ฝันของเด็ก ๆ หลายคนคืออยากเป็นครู ประเทศเล็ก ๆ นี้ จึงมีคนตั้งใจอยากเป็นครูกันเยอะ คนที่เก่งที่สุดของประเทศจะแข่งกันเป็นครู และครูทุกคนจะต้องจบการศึกษาด้านครูในระดับปริญญาโท
ส่วนใครเรียนด้านอื่นต้องไปต่อปริญญาโทด้านครูจึงมาสมัครสอนได้ ครูที่นี่มีความสุขครับ เพราะฐานะดี สอนก็น้อย มีวันหยุดยาว ๆ ครูจึงมีเวลา อบรมพัฒนาตัวเอง มีเวลาทำกิจกรรมแบ่งปันสู่สังคมเยอะครับ ไม่ต้องมาทำกวดวิชา ทำขนมขาย หรือขายตรง ขายประกัน ครูบ้านเรา รายได้น้อย ยังต้องดิ้นรน หลายท่านเอาตัวเองแทบไม่รอด ยังมาเจอภาระงานประหลาด ๆ การวัดกระดาษมากมายจากโรงเรียน
หลายท่านบ่นว่าช่วงปิดเทอมบางทีก็ไม่ได้หยุด แล้วจะมีความสุข ความหวังอะไรมาถ่ายทอดสู่เด็กล่ะครับ ก็เหลือและหวังได้แต่หัวใจครูเท่านั้นแหละ
หวังว่าความต่างกันในการจัดการศึกษานี้น่าจะเป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษาบ้านเราได้นะครับ
บทความจาก http://www.prachachat.net/
10 อย่างที่ไม่ควรโพสต์หรือแชร์ เด็ดขาด!
เว็บไซต์เดอะดิชช์รวบรวม "โพสต์ต้องห้าม" ที่ไม่ควรแชร์ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เด็ดขาด แม้ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลที่ไม่มีอันตราย แต่ก็อาจสร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับผู้โพสต์ได้ในภายหลัง 10 สิ่งที่ไม่ควรโพสต์ ได้แก่
1.เรื่องความสัมพันธ์
หากคุณและแฟนสวมคอนเวิร์สแยกไปกันคนละทางคุณอาจจะอยากระบายความเจ็บช้ำ หรือความเกลียดชังที่มีต่ออดีตแฟนเก่าให้ครอบครัวเรื่อยไปจนถึงเพื่อนสนิทได้รับรู้ แต่ขอให้รู้ไว้เถิดว่า การโพสต์สถานภาพหัวใจ จะสมหวังหรือรักร้าว ต่างก็ไม่ใช่ข้อมูลที่ใครๆ อยากรู้หรอกนะ
2.ภาพวาบหวิว
ไม่ว่าคุณจะภูมิใจในเรือนร่างมากแค่ไหน โลกก็ไม่จำเป็นต้องรับรู้ว่าสัดส่วนของคุณมีอะไรบ้าง เว้นแต่ว่าคุณต้องการจะเป็นดาราหนังโป๊หรือนางแบบเซ็กซี่
3.ภาพของคุณขณะดื่มเหล้าหรือเสพยา
เคยได้ยินเรื่องลือที่ว่าบริษัทซึ่งคุณสมัครงานมักจะให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสืบค้นประวัติของคุณผ่านบัญชีโซเชี่ยลมีเดียเพื่อดูว่าคุณเหมาะสมหรือไม่นั้น เรื่องนี้ไม่ใช่ข่าวลือ แต่เป็นสิ่งที่บริษัทส่วนใหญ่ทำเป็นขั้นตอนแรกๆ หลังได้รับใบสมัครของคุณ ดังนั้นไม่ว่าจะอารมณ์ครึ้มมาจากไหน อย่าได้ถ่ายรูปตัวเองตอนเมา โดยเฉพาะเมื่อมียาเสพติดเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะนอกจากจะดูไม่ดีแล้ว ยังเป็นการกระทำผิดกฎหมาย และแน่นอนว่าแทนที่จะได้ทำงาน อาจต้องไปนั่งๆ นอนๆ อยู่ในคุกแทน
4.ความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับงานของคุณ
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนส่วนใหญ่จะเบื่อหน่ายหรือเกลียดงานที่กำลังทำอยู่แต่จำไว้ว่าอย่าได้แชร์ข้อความที่แสดงถึงความไม่พอใจบนบัญชีโลกออนไลน์ของคุณ เพราะเจ้านายและบริษัทคงไม่ชอบใจนักกับทัศนคติด้านลบ จนอาจบานปลายกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องตกงาน
5.เงิน
โพสต์ไปเถอะรูปกองเงินเป็นฟ่อน หรือจำนวนเงินหลายหลักบนสมุดบัญชีธนาคาร หากคุณอยากถูกปล้น! แม้จะเป็นแค่การโพสต์ผ่านโลกออนไลน์ และคุณไม่ได้บอกรายละเอียดส่วนตัวให้ใครรู้ แต่เชื่อเถอะว่าในยุคดิจิตอลอย่างปัจจุบัน ไม่ว่าเรื่องยากแค่ไหนก็กลายเป็นเรื่องง่ายได้เสมอ แค่เจาะระบบเพียงปลายนิ้วสัมผัส ทั้งประวัติ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ของคุณก็อยู่ในมือคนร้ายแล้ว
6.ภาพน่าอายของเพื่อน
ถึงจะเป็นเรื่องขำๆ แต่โพสต์ภาพน่าอายของเพื่อนๆ โดยเฉพาะเพื่อนสนิท ถือเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ความสัมพันธ์เปลี่ยนไป ถ้าไม่อยากเสียเพื่อนรู้ใจจำไว้ห้ามโพสต์เด็ดขาด
7.ผลงานที่ได้จดลิขสิทธิ์
หากคุณเป็นนักคิดนักสร้างสรรค์ไม่ว่าจะด้านไหน เมื่อทำสิ่งที่เราชอบได้สำเร็จก็อยากจะโพสต์โชว์เพื่อเพิ่มแรงใจจากคนรอบข้าง แต่การขโมยลิขสิทธิ์เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาบนโลกออนไลน์ ผลงานที่คุณทุ่มเททำมานานอาจสร้างความภูมิใจเล็กๆ ผ่านการคอมเมนต์จากผู้อื่น แต่วันรุ่งขึ้นมันอาจกลายเป็นผลงานสร้างชื่อ สร้างอนาคตให้คนอื่นได้
8.ข้อความสนทนาส่วนตัว
อย่าได้โพสต์ข้อความที่คุณพูดคุยกับใครเป็นการส่วนตัวลงบนเพจที่ตั้งเป็นหน้าสาธารณะนอกจากจะไม่เหมะสมแล้ว ยังสร้างกระแสให้เกิดความขัดแย้งได้ง่าย ไม่ว่าฝ่ายที่สนทนาด้วยจะโพสต์ข้อความหยาบคายหรือจงใจเล่นงานคุณอย่างจัง สิ่งที่ควรทำคือ ใช้กลยุทธ์สงบสยบความเคลื่อนไหว
9.ข้อมูลเยอะไป
มีหลายสิ่งที่คนอื่นไม่อยากรู้เกี่ยวกับตัวคุณการบอกเล่าแบบระเอียดถี่ยิบ อย่างวันนี้คุณเข้าห้องน้ำกี่ครั้ง ช่วงไหนมีรอบเดือน หรือผ่านหนุ่มผ่านสาวมาแล้วกี่คนเนี่ย มันมากเกินไปจริงๆ
10.ข้อมูลส่วนตัว
ทั้งเบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ และอีกสารพัดข้อมูลจำเพาะส่วนบุคคล ต่างเป็นสิ่งที่ไม่ควรเปิดเผยบนโลกออนไลน์ เพราะการขโมยอัตลักษณ์บุคคลไม่ได้มีให้เห็นแค่ในซีรีส์สืบสวนหรอก หากคุณเปิดใจจนหมดเปลือก วันหนึ่งอาจได้เห็นชื่อของตัวเองอยู่ในหน้าข่าวก็เป็นได้!
ภาพและข้อมูลจาก http://www.khaosod.co.th/
วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558
ไมวันนี้ เน็ตช้าจัง
ไมวันนี้ เน็ตช้าจัง
L
ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของอินเตอร์เน็ต ได้แก่
1.ปริมาณของข้อมูล(Data)
อินเตอร์เน็ต คือ
การติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ข้อมูลบางอย่างก็มีปริมาณน้อย(เช่น
ข้อความ ตัวอักษร) บางอย่างก็มีปริมาณมาก(เช่น ภาพ วิดืโอ)
หากเปรียบข้อมูลดิจิตอลเป็นรถยนต์ รถคันเล็กบรรทุกน้อย
ย้อมเคลื่อนที่ได้เร็วกว่ารถคันใหญ่บรรทุกหนักแน่นอน
นี่จึงเป็นสาเหตุที่ว่าข้อมูลบางอย่างต้องใช้เวลาในการดาวน์โหลดนานมากกว่าข้อมูลจะสมบูรณ์
2.ความกว้างของช่องทางการจราจรของข้อมูล(Banwidth)
ซึ่งเรามักเรียกกันว่า ความเร็ว เช่น 2 เม็ก 10 เม็ก
100เม็ก นั้นมาจากคำว่า Megabit
Per Second คือปริมาณสูงสุดที่ข้อมูลจะไหลผ่านได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ
ซึ่งปริมาณนี้มักจะถูกกำหนดโดยผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่เราต้องเสียเงินให้นั้นเอง
ดังนั้นพอจะสรุปได้ว่า
ที่วันนี้เรารู้สึกว่าอินเตอร์เน็ตช้า
เรากำลังโหลดข้อมูลในปริมาณมากซึ่งเราในที่นี้คือผู้ใช้ทุกคนที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตนั้นเอง
ซึ่งเมื่อทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัดแต่ “ความต้องการ” มีไม่จำกัด จึงจำเป็นที่ต้องมีการบริหารจัดการเกิดขึ้น บางทีถ้าเราลองลด”ความเร็ว”
ของใจเราบ้างวันนี้อินเตอร์เน็ตอาจจะเร็วขึ้นก็ได้นะ ^^
-admin
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)