ท้าวความส่วนตัวถึงความเป็นมาเป็นไปก่อนที่จะนำระบบ LMS มาใช้อย่างจริงจังในาคเรียนรกของปีการศึกษาใหม่นี้ ส่วนตัวผมรู้จักระบบแบบนี้สมัยเรียนอยู่แต่ก็ไม่ได้มีแนวคิดว่าจะใช้จริงจังเพียงแต่รู้ว่ามันทำงานอย่างไรเท่านั้นเอง แต่กลับมาเข้าหัวอีกครัั้งเมื่อมีโอกาสเข้าอบรมโครงการของ สพฐ ที่จังหวัดพิษณุโลกก่อนหน้านั้นก็ยายามใช้สื่อที่เป็นสื่อออนไลน์ในการถ่ายทอดเนื้อหาให้กับนักเรียนแต่ประสบปัญหาด้านทรัพยากรสัญญาณอินเตอร์เน็ตเพราะโรงเรียนก็อยู่ไกลปืนเที่ยงพอสมควรเลยมองว่าระบบที่เป็น intranet น่าจะเหมาะกับโรงเรียนมากกว่าจึงเริ่มค่อยๆปรับรื้อระบบเครือข่ายของโรงเรียนให้เหมาะสมทันทีแต่ก็ใช้เวลานานอยู่ในการปฏิบัติจริง แต่เนื่องากได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณอย่างไม่คาดฝันก็เกิดไอเดียตัดสินใจดำเนินการทันที่โดยตั้งใจใช้ในรายวิชาที่ตัวเองสอนอยู่ให้ทุกรายวิชาเลย แล้วค่อยๆพยายามชักชวนคุณครูท่านอื่นๆทีหลัง
ลุยสร้าง Content
เพราะว่าสื่อที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ต้องเป็นสื่อดิจิตลอทั้งหมดดังนั้นภารกิจที่ต้องทำตลอดปิดเทอมเดือนเมษายนคือ การเตรียมเนื้อหาแบบฝึก การบ้าน ข้อสอบ ในทุกรายวิชาให้พร้อมไว้ก่อนโดยระยะแรกนี้กะว่าอย่างน้อยก็ขอให้มีสื่อที่เป็น text กับรูปภายก่อนก็ยังดีอนาคตค่อยๆเพิ่มสื่อที่เป็นมัลติมีเดียที่หลังเพราะมีความซับซ้อนและใช้เวลาเตรียมมาก
ปฏิบัติจริง พบนักเรียนยังขาดทักษะหลายอย่าง
คำว่าทักษะการเรียนรู้ที่สอนกันไม่ได้ เข้ามาให้เห็นต่อหน้าทันที นักเรียนยังออกอาการมึนๆว่าตัวเองต้องทำอะไรบ้าง ใหนจะยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องการเรียนด้วยระบบใหม่อีกซึ่งต้องใช้สองสัปดาห์แรกสำหรับการสร้างความเข้าใจ และทักษะการใช้งานระบบพื้นฐานเป็นส่วนใหญ่เช่น การดาวน์โหลดเอกสารอ่าน การทำการบ้าน การส่งงาน การทำข้อสอบ การเข้าดูคะแนนของตนเอง แต่นักเรียนก็เริ่มชินกับระบบอย่างรวดเร็ว(คงเพราะสภาพบังคับรึปล่าวนะ)สมกับเป็นนักเรียนในยุคศตวรรษที่ 21 เลยจริง และอีกสิ่งหนึ่งที่ตอกย้ำว่านักเรียนยังขาดทักษะในการเรียนรู้คือ คำถามในช่วงแรกๆที่ลอยมาว่า ผมต้องทำอะไรต่อ ต้องไปตรงใหน ต้องคลิกตรงใหน ต้องเข้าดูตรงนี้รึปล่าว ทำเสร็จแล้วส่งเลยมั๊ย และอีกมากมายซึ่งส่วนตัวผมแปลกใจมากเพราะคิดว่านักเรียนต้องชินอยู่แล้วเพราะมันอยู่ในรูปแบบเว็บไซต์ที่พวกเค้ากดคลิกท่องไปโดยไม่ต้องมีใครบอก แต่แปลกมากพออยู่ในห้องเรียนนักเรียนเราไม่กล้าทำอะไรเลยขาดความมั่นใจสุดๆ ซึ่งเราต้องคอยกระตุ้นเรื่อยๆว่านักเรียนมีหน้าอะไร และจะทำอะไรก็ได้ปัญหานี้ก็ค่อยๆลดลงไปอีกหลังผ่านสองสัปดาห์ไปแล้วเพราะนักเรียนคุ้นเคยกับระบบมากขึ้น
ห้องเรียนที่เปลี่ยนไป ไม่ได้เรียนคอมพิวเตอร์ แต่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียน
สิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงคือ เราสอนเนื้อหาน้อยลงแต่ต้องตอบคำถามมากขึ้นซึ่งแรกๆก็คือคำถามเกี่ยวกับการใช้ระบบ หลังๆมาเริ่มมีคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาซึ่งถ้าเราเห็นว่าข้อมูลนี้นักเรียนควรสามารถหาเองได้เราก็ส่งเสริมไป ที่เพิ่มขึ้นมาคือนักเรียนบางคนจะรู้จักค้นคำตอบเพิ่มเองจากแหล่งข้อมูลภายนอกจากที่เราเตรียมไว้ให้ในระบบ(อันนี้ค่อนข้างปลื้ม)
ผู้เรียนมีเวลาเรียนมากขึ้น แน่นอนเพราะเราเตรียมเนื้อหาไว้ในระบบแล้วที่เหลือก็คือคอยกระตุ้นให้นักเรียนเข้าเรียนและหาคำตอบ หรือถามคำถามซึ่งหวังว่าจะเจอคำถามมากขึ้นกว่านี้อีกนะในอนาคต
บทเรียนที่คาดว่าจะมีคนได้รับ
ไม่รู้ว่าเป็นความรู้สึกส่วนตัวรึปล่าวที่คิดว่า นักเรียนไม่ค่อยสู้เมื่อต้องเจอกับปัญหายากๆเลย พวกเค้ามักร้องขอให้ออกจทย์ง่ายๆ และเมื่อเจอปัญหาก็เลือกที่จะไปทำอย่างอื่นๆและไม่สนใจเอาดื้อๆ ซึ้งเมื่อครูกระตุ้นแล้วยังละเลยตัดสินใจว่าจะปล่อยให้เป็นบทเรียนเรื่องผลการเรียเพราะต้องไม่ลืมว่าเราไม่ได้ใช้ตำราเรียนที่ถูกจัดให้โดยใครก็ไม่รู้ที่ไม่รู้จักนักเรียนของเราเลยเราเลยมีอิสระเต็มที่ที่จะเลือกระดับของนื้อหา ระดับความยากง่ายของภาระงานให้เหมาะสมและปรับเปลี่ยนได้ตอดนในอนาคตเพราะต้องย้ำกับนักเรียนเสมอว่านักเรียนสามารถรู้คะแนนของตัวเองตลอดเวลา นักเรียนรู้ว่ามีงานที่ต้องทำกี่งานในระบบ(ข้อดีอย่างนึงที่ชอบระบบนี้)
รายวิชาที่ดิ้นได้
ถึงจะเตรีถึงจะเตรียมยมเนื้อหาไว้แล้วทั้งหมดตอนปิดเทอมแต่เมื่อมาสอนจริงและพบว่าเนื้อหาบางอย่าง หรือภาระงานบางอย่างยังไม่เหมาะกับนักเรียนหรือสถานการณ์นั้นๆเราก็ต้องปรับเปลี่ยนตลอดผมเลยเลือกที่จะค่อยๆทะทยอยเปิดเนื้อหาทีละส่วนแทนที่จะเปิดให้นักเรียนเรียนทั้งหมดไปเลยแต่ก็พิจารณาว่าในระดับชั้นสูงซึ่งคาดว่าน่าจะพร้อมและมีความรับผิดชอบสูงก็มอบให้นักเรียนเรียนรู้ได้อย่างเสรี เราก็ค่อยๆลดบทบาทของตัวเองลง ซึ่งคิดว่าระบบนี้จริงๆเหมาะกับชั้นสูงๆอย่าง ม ปลาย มากๆ เพราะต้องไม่ลืมว่าเราไม่ได้ใช้ตำราเรียนที่ถูกจัดให้โดยใครก็ไม่รู้ที่ไม่รู้จักนักเรียนของเราเลยเราเลยมีอิสระเต็มที่ที่จะเลือกระดับของนื้อหา ระดับความยากง่ายของภาระงานให้เหมาะสมและปรับเปลี่ยนได้ตอด
งานที่เพิ่มขึ้น(นิดหน่อย)
เพราะว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำมาให้บริการก็เป็นเครื่อง Desktop ธรรมดาราคาไม่แพงมากทำให้ต้องระวังเรื่องความน่าเชื่อถือของระบบภารกิจที่เพิ่มขึ้นมาคือการคอยสำรองข้อมูลสำคัญ อย่างเช่น ฐานข้อมูล และไฟล์ของเว็บไว้ทุกวัน
การวิจัย สิ่งที่คาดว่าจะทำ
ได้แรงบัลดาลใจซะทีว่าจะทำวิจัยเรื่องอะไร อันที่จริงระบบ ObecLMS ก็เป็นสื่อการเรียนรู้อย่างหนึ่งเท่านั้นถึงอย่างไรเสียครูก็ยังเป็นบุคคลสำคัญที่ต้องคอยอำนวยความสะดวกและกระตุ้นผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆสื่อเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกอย่างหนึ่งเท่านั้น
ความคาดหวังสูงสุด
ระบบ LMS นั้นถูกออกแบบโดยพยายามจำลองการเรียนการสอนแบบปรกติดังนั้นจึงเหมาะสมที่จะนำไปใช้ได้กับทุกรายวิชา เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านสื่อการสอนชนิดต่างๆกัน ใช้ความสามารถของระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยอำนวยความสะดวก เช่น สื่อการสอนแบบมัลติมีเดีย เป็นต้น มีระบบที่ช่วยเรื่องการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน กับผู้สอน หรือภายในชั้นเรียน เช่น ระบบแชท ระบบกระดานสนทนา เป็นต้น ความคาดหลังสำหรับระบบที่ติดตั้งระบบครั้งนี้ คือ มีรายวิชาอื่นๆที่หลากหลายเข้ามาใช้งาน ทั้งนี้ก็เป็นไปตามแนวโน้มของการศึกษาในปัจจุบันที่ต้องพึงพาเทคโนโลยีมากขึ้นๆนั้นเอง
คงได้มีโอกาสมาแบ่งปันกันอีกครั้งนะครับ
เมธา เขียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น