วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558

“ครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง”

 “ครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง”

เรื่องราวชีวิตของ ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี รางวัลที่มอบให้กับครูที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในชีวิตศิษย์ และเป็นผู้มีคุณูปการต่อวงการศึกษาไทย ซึ่งรางวัลนี้เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงอุทิศพระองค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน  
 
คนแรก คือ “ครูเฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ” ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี คนแรกของประเทศไทย ครูวิทยาศาสตร์ ผู้สอนวิชาฟิสิกส์ แห่งโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา ผู้คิดค้นเทคนิควิธีการสอนจากวิชาที่ยาก ให้กลายเป็นเรื่องง่ายๆ จนเปลี่ยนความคิดและทัศนคติของเด็กๆ หลายคนให้หันมาชอบและสนใจวิชาวิทยาศาสตร์ และนำวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์มาเป็นเครื่องมือในการ “สร้างคน” ครูผู้ปั้นดิน ให้เป็นดาว จนสามารถคว้ารางวัลโครงงานวิทยาศาสตร์ทั้งในเวทีระดับประเทศและระดับโลกมากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งไม่เพียงเป็นครูที่สร้างคน ด้วยการสอนคิด แต่ยังสร้างความภาคภูมิใจในชีวิตแก่ลูกศิษย์  
 
ส่วนอีกท่านหนึ่งคือ เจ้าของรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ในระดับรางวัลคุณากร “ครูชาตรี สำราญ” ครูภาษาไทยวัยเกษียณ แห่งพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ผู้เป็นขุมทรัพย์ทางปัญหาของวงการศึกษาไทย ครูผู้คิดค้นเทคนิควิธีการสอนและแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กทุกรูปแบบ โดยยึด “ศิษย์” เป็น “ครู” ในการปรับปรุงและพัฒนาเทคนิคการสอนมาตลอดชีวิตการเป็นครู จนเป็นต้นแบบของการสอนแบบ “บูรณาการ” คนแรกๆของไทย ผู้อุทิศชีวิตหลังเกษียณ เพื่อการ “สร้างครู” ด้วยการขยายแนวคิดเทคนิควิธีการสอนแก่ครูทั่วประเทศ  
 
เบื้องหลังแห่งความสำเร็จในชีวิตการเป็นครู ของทั้ง 2 คน พวกเขาต้องเสียสละและทุ่มเทเพื่อลูกศิษย์มากน้อยเพียงใด และตลอดชีวิตของการเป็นครู ทั้งคู่ต่างดำรงวิถีชีวิต “ความเป็นครู” ในรูปแบบไหน อย่างไร ถึงมีดอกผลที่งดงามอย่างทุกวันนี้ ติดตามได้รายการคนค้นฅน ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เดอะซีรีย์ ตอนที่ 1 “ครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง” วันอังคารที่ 6 ตุลาคม 2558 เวลา 22.00 น. ทาง ช่อง 9 MCOT HD และโมเดิร์นไนน์ทีวี


วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ทีวี: พิษภัยใกล้ตัวสำหรับเด็กเล็ก

โทรทัศน์หรือที่เรียกสั้นๆ ว่าทีวีนั้น เป็นเครื่องรับสัญญาณคลื่นความความรู้ ข่าวสาร และความบันเทิงมาทุกยุกทุกสมัย ภาพครอบครัวที่อยู่ด้วยกันพร้อมหน้าพร้อมตาหน้าจอทีวีนั้นดูเหมือนเป็นสิ่งที่สังคมอาจมองว่าเป็นการสร้างความอบอุ่นและสัมพันธภาพที่ดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว บางครอบครัวมีเครื่องทีวีประจำในห้องนอนของลูกๆ พอเด็กๆ ตื่นนอนก็ต้องเปิดทีวีเป็นอันดับแรก หรือบางบ้านมีลูกน้อยกำลังหัดคลานหัดเดินก็ปล่อยไว้หน้าจอทีวีด้วยเชื่อว่าเด็กจะได้เห็นตัวการ์ตูนในทีวีเป็นเพื่อนไปพลางๆ ในขณะที่พ่อแม่ต้องทำภาระกิจอื่น


เนื่องจากช่วงเด็กแรกเกิดจนถึง 3 ปี จะเป็นช่วงที่เรียนรู้ภาษา, ทักษะทางสังคมและร่างกายมีพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างเห็นได้ชัด โครงสร้างและการทำงานของสมองมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มีปัจจัยหลายอย่างทั้งภายในตัวเด็กเองและสิ่งแวดล้อมที่เด็กเรียนรู้ล้วนมีผลต่อความยืดหยุ่นของสมอง (brain plasticity) ที่จะเป็นตัวเบ้าหลอมโครงสร้างและการทำงานของสมองในอนาคตเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ การรับชมทีวีจึงมีผลต่อการเรียนรู้เด็กอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้



Dr Aric Sigman ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น Associate Fellow of the British Psychological Society ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาที่ศึกษาผลของทีวีต่อสุขภาพมาเป็นเวลานานได้แถลงต่อคณะสมาชิกวุฒิสภาของสหราชอาณาจักรในการประชุมที่จัดโดยองค์กรด้านสื่อสารมวลชน Mediawatch-UK
โดยผลเสียของการดูทีวีที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน ได้แก่ รูปแบบการนอนหลับที่ผิดปกติ (irregular sleep pattern) ลดอัตราเผาผลาญพลังงานในขณะพัก (resting metabolic rate) จนอาจทำให้เกิดโรคอ้วน เวลาที่เด็กพูดกับผู้ใหญ่ลดน้อยลง เด็กมีทักษะทางสังคมแย่ลง และที่สำคัญคือเด็กมีสมาธิ (concentration) และความจดจ่อ (attention) แย่ลง จนอาจทำให้เกิดโรคความจดจ่อเสื่อมหรือสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder) และทีวีอาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคออติซึมโดยเมื่อปลายปีที่แล้ว Cornell University, Indiana University และ Purdue University ได้ศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างการดูทีวีและการเกิดอาการออติซึมในเด็กอเมริกัน

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าภาพในจอทีวีที่เคลื่อนไหวค่อนข้างเร็วจะลดความสามารถของเด็กในการจดจ่อสนใจ ขาดสมาธิในการเรียนรู้ นอกจากนี้ทีวียังมีแสงสว่างจ้า สีสรรมากเกินไป เต็มไปด้วยตัวกระตุ้นเทียมที่ไม่มีจริงในชีวิตตามธรรมชาติ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการพัฒนาสมองทั้งในด้านโครงสร้างและหน้าที่การทำงานซึ่งจะส่งผลในระยะยาวเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่

ข้อเสนอของ Dr Aric Sigman
เด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 3 ปี ไม่ควรให้ดูทีวี
เด็กอายุ 3-7 ปี ควรให้ดูทีวีได้ไม่เกินวันละ 30-60 นาทีต่อวัน
เด็กอายุ 7-12 ปี ควรให้ดูทีวีได้ไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง
เด็กอายุ 12-15 ปี ควรให้ดูทีวีได้ไม่เกินวันละ 1.5 ชั่วโมง
เด็กอายุ 16 ปีขึ้นไป ควรให้ดูทีวีได้ไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง


ทีวีเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเกือบจะทุกบ้าน ให้สาระและความบันเทิงและเป็นเพื่อนคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน รายการทีวีในเมืองไทยมีส่วนช่วยพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยมากน้อยเพียงใด ผู้ปกครองสนใจอิทธิพลของทีวีที่มีต่อลูกหลานตัวเองหรือไม่ อย่าปล่อยให้เด็กเล็กอยู่หน้าจอทีวีตลอดเลยครับ พาพวกเขาไปเรียนรู้ธรรมชาตินอกบ้าน สวนสาธารณะ และพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น ถึงแม้เรายังไม่สามารถสรุปแน่ชัดว่าทีวีเป็นตัวการทำลายสุขภาพเด็ก แต่การจำกัดช่วงเวลาการดูทีวีและส่งเสริมให้เด็กได้ทำกิจกรรมที่หลากหลายก็จะช่วยให้สมองของลูกรักได้มีการเรียนรู้อย่างสมดุลและป้องกันปัญหาที่ตัวเราคาดไม่ถึงได้


แหล่งข้อมูล http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=neuroguy&group=2

แนะนำหนังสือดี สำหรับครู "80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ"

หนังสือดีที่ควรศึกษา...
  • มี 80 นวัตกรรมที่ใช้ทำผลงานวิชาการได้
     
  • มีผลงานวิจัยรองรับนวัตกรรม มากกว่า 400 เรื่อง
     
  • มีรายการอ้างอิงที่ถูกต้อง มากกว่า 2,000 รายการ
ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.champ108.com/chaiwat/

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ขายฝัน Windows Sharepoint Service 3.0 โรงเรียนวังใหญ่วิทยาคม

               พอดีวันนี้เพิ่งเซตเครื่องเสร็จ ร้อนวิชาเกรดค่อยกรอกละกัน อิอิ
              สืบเนื่องจากการทำงานในสำนักงานปัจจุบันนั้นต้องศัยระบบคอมพิวเตอร์เป็นหลัก เช่น งานด้านเอกสารสารพัดเป็นต้น หลายครั้งเราก็ต้องติดต่อคนโน้นคนนี้เดินไปข้อข้อมูลโน้นนี่นั้น ใหนจะต้องทำรายงานอีกให้สาธยายสามวันก็คงไม่จบไม่สิ้นมั่งครับ ส่วนมากจากการสังเกตุซอฟต์แวร์ที่เราใช้ๆกันก็คงหนี้ไม่พ้นชุดโปรแกรมสำนักงาน word excel powerpoint อะไรพวกนี้
            Collaboration แปลโดยตรงก็คือ การทำงานร่วมกัน ร่วมมือกันอะไรประมาณนี้ ในปัจจุบันมีชุดโปรแกรมที่ตอบสนองการทำงานร่วมกันเช่น  ของกูเกิลก็ Google Docs ของไมโครซอฟต์ก็ Office 365 ซึ่งทำงานผ่านระบบคราวด์ที่จะต้องเชื่อมต่ออินเตอร์(ที่มีประสิทธิภาพสูง) ตลอดเวลาจึงจะทำงานได้ดีอันนี้คือแนวโน้มในปัจจุบันที่ผมโดนไปอบรมมาหลายครั้ง แต่ก็อย่างว่าระบบการสื่อสารในสภาพแวดล้อมธรรมชาติอย่างบ้านเราก็คงต้องบอกว่ายังอีกไกล ใหนจะสไตล์การทำงานของระบบราชการไทยอีกที่ผมมองว่าแค่นี้ก็ใช้งานครูหนักแล้วนี่กะไม่ให้พักผ่อนกันเลยรึ(anytime anywhere) นอกเรื่องไปไกลเลย อิอิ
           กลับมาที่บริบทของเราดีกว่าเนอะ แน่นอนว่าคุณครูทุกท่านต้องใช้คอมพิวเตอร์ทำงานวันๆหนึ่งอยู่แต่หน้าคอมพิวเตอร์(อยู่แล้ว)  ผมสมมติเหตุการณ์ดีกว่า เช่น
           ผู้อำนวยการมอบหมายให้เขียนรายงานส่งเขตพื้นที่ เรื่องอะไรก็ไม่รู้ล่ะ 1 เล่ม 5 บทโดยให้ครูที่รับผิดชอบท่านหนึ่งรวบรวมข้อมูลแล้วสรุปส่งมาอะไรประมาณนี้
           เป็นธรรมดาที่มหกรรมการของไฟล์สารพัดก็จะเกิดขึ้น อิรุงตุงนังกว่าจะรวมเป็นเล่มเป็นไฟล์เดียวมันก็ งง ไปหมด ใหนกรอกตรงนั้น  ใหนแก้ตรงนี้ บางทีต้องปริ้นออกมา เอ้าเอาไปแก้ใหม่อยู่ร่ำไปหน่ายชีวิต(ปานประหนึ่งว่าวันนึงไม่มีคาบสอน อิอิ)
ขอบคุณภาพจาก http://www.blogcdn.com

           คราวนี้ลองจินตนาการว่า มีโปรแกรมที่สร้างห้องขึ้นมาหนึ่งห้อง หรือไฟล์ 1 ไฟล์แล้วทุกคนก็ช่วยๆกันเข้าไปแก้ไขไฟล์นั้นไฟล์เดียว ช่วยกันอ่าน ช่วยกันดู ใครว่างๆก็ช่วยกันจัด ผอ. ก็สามารถเปิดไฟล์นั้นดูไปด้วย จะช่วยกันพิมพ์ก็ไม่ว่า พอกด save ปั๊บไฟล์นั้นก็ update ทันทีภาษาคอมเรียกมัน ซิงค์กัน  นอกจากนั้นยัสามารถถกประเด็นกันได้ผ่าน Discussion Board ได้....
          ทั้งหมดนี้เปลืองเซลล์สมองหน่อยตรงต้องจำ username กับรหัสผ่านเพิ่มอีกนิดอิอิ ส่วนอื่นๆก็
ใช้ Internet Explore กับ Office 2007 เท่านั้นเอง
ปล. กำลังทดลองใช้งานเหมือนกันครับ :)
ครูเมธา